แผนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของโรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

นิพนธ์ หมูทอง
มนต์นภัส มโนการณ์

Abstract

          การค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงาน
เป็นเลิศด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 3) เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศึกษาโดยใช้กระบวนการระดมพลังสร้างสรรค์ (A-I-C)  3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและคณะครู จำนวน 19 คน ใช้ระเบียบวาระการประชุมเป็นเครื่องมือ 2) การศึกษาวิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 3 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา 3) การจัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและคณะครู จำนวน 19 คน ใช้ระเบียบวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการศึกษา พบว่า 


               1) สภาพและปัญหาการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และความสามารถผลิตผลงาน
อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปเผยแพร่ในระดับจังหวัดและภาคได้ ปัญหา ได้แก่ ความหลากหลายของผลงาน ความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่น และการสนับสนุนให้นำเสนอในระดับชาติหรือนานาชาติน้อย 2) ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน โรงเรียนจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมบังคับ ปัญหา ได้แก่ หลักสูตรไม่ครบระดับชั้น การนิเทศกำกับติดตามมีน้อย การผลิตหรือใช้หนังสือ การจัดให้ผู้เรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกมีน้อย 3) ด้านบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ได้แก่
มีนโยบายการงานในแผนปฏิบัติงานประจำปี  มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานชัดเจน ปัญหา ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ โครงการและกิจกรรมมีน้อย การประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน การสร้างภาคีเครือข่าย และการจัดแหล่งเรียนรู้มีน้อย


               2) วิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
ด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ พบว่า 1) ด้านผู้เรียน จัดประกวดผลงานความคิดสร้างสรรค์ มอบรางวัลให้แก่ผู้เรียน  2) ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ศึกษาหลักสูตรและเทคนิคการสอนจากเครือข่าย
ทำแนวทางการจัดกิจกรรม พัฒนาหลักสูตร จัดสรรทรัพยากร 3) ด้านบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ กำหนดแผนการดำเนินการ ใช้เทคโนโลยีสนับสนุน พัฒนาบุคลากร ความร่วมมือจากองค์กรภายนอก สนับสนุนการประกวดและนำเสนอผลงานในระดับต่าง ๆ


            3) แผนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ข้อมูลทั่วไป ประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์โรงเรียน สถานที่ตั้ง ข้อมูลอาคารสถานที่ ข้อมูลงบประมาณ ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลงานดีเด่นในรอบปี ส่วนที่ 2 ทิศทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าประสงค์ 
กลยุทธ์ระดับแผนงาน การกำหนดโครงการ/กิจกรรม  รายละเอียดโครงการกิจกรรมและประมาณการงบประมาณ และรายละเอียดโครงการ/กิจกรร


          This independent study had three objectives  1) to study the working conditions and problems in the development of the learners’ quality of in creative production
of the school of Hongsonsuksa school, 2) to examine the practices of developing
the learners’ quality of the schools with excellent performance in creative production, 
3) to create a operational plan to develop the learners’ quality  in the creative production of Hongsonsuksa school under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Bejaratana, Mae Hong Son province. The three-step A-I-C process conducted which involved 1) the study of the conditions and problems in the development of the learners’ quality
in creative production. The target group consisted of 19 administrators and teachers.
The agenda was used as a tool: 2) the study of practices to improve the learners’ quality
in the schools with excellent performance in creative production. The target group included 3 qualified educational directors of the schools. The interview was the data collection instrument: 3) the creation of a plan to develop the learners’ quality in creative production. The target group employed with 19 executives and teachers and used the workshop agenda as instrument with the content analysis.


               The results showed that:


               1) The working conditions in developing the quality of learners in creative production were 3 aspects: 1) Learners aspect, they have the knowledge, understanding, awareness and creativity for production which could be proposed and publicized at the provincial and religion sectors. The operational problems included a variety of productions, local relevance and support to submit the presentation at the national level, 2) the aspect of curriculum and instruction, the school organized the learning content for self – study as the  additional courses and compulsory activities. The problems found were: curriculum, self- study curriculum was not completed in all levels, it had less of supervision, monitoring and following up, it also had less self- study books, student management, limited outside learning resources, 3) the aspect of administration with quality system, operational condition was that the school had a policy of implementing the program in the annual work plan, and had a clear work appointment. The problems were that the school did not set a clear vision, had few projects and activities involved, seminar, study visit, networking party creation, and the arrangement of learning resources were less.


               2) The practical approach to quality development of learners with excellent performance in creative production, it was found that: 1) learners aspect, the students had  creative production  contests, and they were awarded:  2) the aspect of curriculum and instruction, the curriculum and teaching techniques of the schools in the network  had been studied,  the curriculum provided guidelines for learning activities,  curriculum development, resource allocation to internal and external learning resources appropriately;  3) the aspect of administration with quality system, the schools  set clear action plan, used technology to support administration, knowledge development, personnel development with the
cooperation of external organizations including the support of contest and presentations on the national and international stage.


            3) The operational plan to develop the learners’ quality  in creative production consisted of 2 parts: Part 1: Introduction includes general information,  history of school, logo, location information, building, budget information, overall community information,  learning center,  local wisdom, outstanding performance in the  year, Part 2: The direction of quality development for creative learners includes vision, mission, planning strategy, projects, project and activity details, and estimating budget, and project details.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ