ความต้องการจำเป็นของการบริหารเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ประวีณา ดาขุนทด
ต้องลักษณ์ บุญธรรม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพที่เป็นอยู่จริงและสภาพที่ควรจะเป็นของการบริหารเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ (2) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 375 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยสูตร(PNI Modified


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติที่เป็นอยู่จริงในการบริหารเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน จังหวัดปทุมธานี ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน จังหวัดปทุมธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) จัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของสถานศึกษาเรียงลำดับจากค่ามากที่สุดไปหาค่าน้อยที่สุดได้แก่ (1) ด้านการสร้างเครือข่ายการพัฒนาสถานศึกษาสู่อาเซียน สถานศึกษาจัดกิจกรรมด้านอาเซียนให้มากขึ้น เพื่อสร้างความสนใจให้กับบุคลากร นักเรียน และชุมชน (2) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสนับสนุนการเรียนรู้สู่อาเซียน สถานศึกษาร่วมจัดประชุมเพื่อพัฒนาชุมชน (3) ด้านการส่งเสริมภูมิปัญญาในท้องถิ่นสู่อาเซียน สถานศึกษาจัดให้มีกิจกรรมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในอาเซียน และส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนด้วย (4) ด้านการสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันเป็นอาเซียน สถานศึกษาสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนของสถานศึกษา ตามลำดับ


          The research aimed to (1) study the current state and the expected state of the relationship network management toward ASEAN community in primary schools in Pathumthani province, and (2) the needs of the community network management to ASEAN community for primary schools in Pathumthani provice. The sample group, selected using stratified random sampling, was consisted of 375 administrators, teachers, and school committees in primary schools under Pathumthani Primary Educational Service Area. The research instruments used for collecting data were dual–response format questionnaires reliability coefficient of 0.90. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index (PNI Modified). 


          The research revealed that 1) as a whole, the current state of the relationship network management toward ASEAN community in primary schools in Pathumthani province was at the moderate level and the expected state was at the highest level, (2) the needs of the community network management to ASEAN community for primary schools in Pathumthani provice offered ranking from the highest to the lowest priorities as follows: (1) more activities related to ASEAN community should be provided in order to fascinate school staffs, students and the community to develop a school network toward ASEAN community; (2) a meeting between the school and the community should be held to encourage community participation in developing learning activities toward ASEAN community; (3) cultural and local events, as well as ASEAN cultural events, should be organized to exchange the local wisdoms toward ASEAN community; and (4) the community should be engaged in school activities to create mutual understanding toward ASEAN community.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ