การจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการแบบเปิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน

Main Article Content

ปิยะบุตร ถิ่นถา
ชรินทร์ มั่งคั่ง
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการแบบเปิด 2) ศึกษาระดับทักษะการคิดแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการแบบเปิด และ 3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ วิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการใช้วิธีการแบบเปิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน จังหวัดแพร่ จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559


          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการแบบเปิด จำนวน 7 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ 20 ชั่วโมง แบบวัดระดับทักษะการคิดแก้ปัญหาและแบบทดสอบผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า


  1. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการแบบเปิด จำนวน 7 แผน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการสร้างศรัทธาโดยใช้มวลประสบการณ์ของผู้เรียน 2) ขั้นการเสนอสถานการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหาเชิงสังคม 3) ขั้นการปฏิสัมพันธ์กลุ่มเพื่อสืบเสาะสร้างองค์ความรู้ 4) ขั้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อสร้างทางเลือก 5) ขั้นการประมวลองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และ 6) ขั้นการนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ของผู้เรียน ซึ่งทุกแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการวิจัย ตลอดจนการดำเนินกิจกรรม และสามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้

  2. ระดับทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน โดยใช้วิธีการแบบเปิด ในภาพรวมอยู่ระดับดี

      3. ผลการเรียนรู้ เรื่อง วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบา            ลบ้านเชตวัน หลังเรียนโดยใช้วิธีการแบบเปิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


          The purposes of this research were 1) to create lesson plans using Open Approach 2) to study students’ level of problem solving thinking skills using Open Approach and 3) to compare the learning outcomes in Geography on natural resources and environment crisis of grade 10 students before and after using Open Approach. The sample of this research consisted of 30 students in Grade 10  at Satit Ban Chetawan Municipal School, Phrae  Province during the second semester of the 2016 academic year. The research instruments were 7 lesson plans in Geography using Open Approach with 20 instructional hours, the level of problem solving thinking skills tests and the learning outcome test. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent and content analysis.


The results of this research were as follows:


  1. Construction of 7 lesson plans in Geography using Open Approach composed of 6 steps which were: 1) Awareness 2) Presenting 3) Inquiry 4) Sharing 5) New Knowledge and 6) Application. All lesson plans were related to purposes and activities. They could be used for developing problem solving thinking skills and students’ learning outcome.

  2. The level of problem solving thinking skills of Grade 10 Students at Satit Ban Chetawan Municipal School using Open Approach were at the good level.

  3. The learning outcome on natural resources and environment crisis of Grade 10 Students after using Open Approach were higher than before at the level of .05 significance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ