การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 : กรณีศึกษา ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ฐิติชญา ฉลาดล้น
พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากรเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง       จ.ราชบุรี จำนวน 111 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 14 ราย โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของโคเฮนและอัฟฮอฟฟ์ (Cohen and Uphoff, 1980) ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (Implementation) 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากรเป็นเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง       จ.ราชบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 30 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ Pair t- test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย การอบรมและการฝึกทักษะ และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังจากการนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่าความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 45.7 โดยกิจกรรมที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือกิจกรรมการฝึกทักษะเรื่องการจัดการความเครียด การผ่อนพักตระหนักรู้ คิดเป็นร้อยละ 80


          This study was a research and development. The purposes was development of participatory health promotion model in elderly patients with type 2 diabetes mellitus, including phase 1, screening health problems and needs of the elderly patient with diabetes type 2 diabetic population at Ladbuakhaw, 111 of which were chosen for a specific amount of 14 phase 2, developing patterns of elderly patients with type 2 diabetes mellitus using a participatory process Cohen and Afghan Hoff, 1980  1) Decision Making 2) Implementation 3) Benefits, and 4) Evaluation and phase 3, evaluating the benefit of model. Population is Diabetic mellitus at Ladbuakhao by a simple random number of 30 people to collect information using both quantitative and qualitative. Quantitative analysis by frequency, percentage, pair t-test and qualitative data using content analysis.


The result found that model of health promotion include 1) training and 2) practice. Found healthy habits of elderly patients with diabetes in the surveyed community. After using two forms of health promotion activities, knowledge of health promotion after activities was significantly increased (p <.05). Overall satisfaction was high (45.7%) by the activities that are most satisfying activity is training about managing stress (80%)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ