การศึกษาความต้องการจำเป็นในการนิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษา ชุดวิชาการปฏิบัติการ สอนในสถานศึกษา 2 (Internship II) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Main Article Content

สวนีย์ เสริมสุข
สุขแก้ว คำสอน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษา
ชุดวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2  (Internship II) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการนิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษา ชุดวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2  (Internship II) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 192 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมีลักษณะ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Ratting scale) 3 ระดับ แบบตอบสนองคู่ (Dual-response format) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified ) และการวิเคราะห์เมทริกซ์ (matrix analysis)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษา ชุดวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2  (Internship II) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทั้งรายด้านและในภาพรวมมีระดับการนิเทศ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการนิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษา ในการฝึกชุดวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2  (Internship II) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พบว่า  นักศึกษามีความต้องการที่จะได้รับข้อแนะนำ และคำชี้แนะจากอาจารย์นิเทศก์เกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตร และการวิจัยในชั้นเรียน มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.19 เป็นอันดับแรก  และการดำเนินการนิเทศส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานการนิเทศที่สูงกว่าเกณฑ์และดีเกินคาด


          The purpose of this research were to 1) study of the state of a supervision of a teaching in a school (an Internship), the faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University. 2)  needs assessment of a supervision of a teaching in a school (an Internship), the faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University as perceived by the preservice teacher students.


            A Stratified random sampling technique were 192 fifth-years in the faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University taking a teaching internship in the year 2015. The research instrument used for this research is a questionnaire.  The questionnaire came with a 3-leveled rating scale with dual-response format. The statistics used are Mean, S.D. and needs assessment using the Modified Priority Needs Index (PNImodified) technique and matrix analysis.


                        The research findings found that 1) The state of supervision according to the perception of the students. Teaching Internship II (Internship II), Faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University both the overall and the overall level of supervision is moderate. 2) Pre-service teacher students need to get recommendations and guidance from the teaching supervisors from education faculty about course analysis and classroom action research(PNImodified 0.19). And most supervision activities have a higher supervisory performance and beyond expectation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ