รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน

Main Article Content

สายสุดา เตียเจริญ
มัทนา วังถนอมศักดิ์
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
วรกาญจน์ สุขสดเขียว
นุชนรา รัตนศิรประภา
สงวน อินทร์รักษ์

Abstract

          การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน 2) เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน และ 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 โรง


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน ประกอบด้วย การสร้างความตระหนัก การแสวงหาและการสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ การเข้าถึงและการแลกเปลี่ยนความรู้ และ การนำความรู้ไปใช้

  2. หลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน พบว่า หลักสูตรท้องถิ่นใช้การบูรณาการร่วมกับจัดการเรียนการสอนในกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็น 7 โมดูล ได้แก่ การสำรวจความต้องของถิ่นฐานในระดับท้องถิ่น การจัดทำหน่วยเรียนรู้บูรณาการระดับชั้น  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ  การจัดกิจกรรมความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาชีพ การวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง การพัฒนาสมรรถนะตามสาขาวิชาชีพและจัดทำ Career Path เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ เป็นการประยุกต์ นำเทคโนโลยีมาใช้กับกระบวนการจัดการเรียนรู้

3. การขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน พบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับประถมศึกษาในอำเภอบ้านลาด จำนวน 11 คน เห็นว่ารูปแบบการจัดการความรู้มีประโยชน์ครอบคลุมในการรักษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เหมาะสม และเห็นด้วยกับหลักสูตรท้องถิ่นที่นำไปบูรณาการกับหลักสูตรแกนกลางซึ่งจะทำให้ลดเวลาในการจัดการเรียนการสอนไม่เกิดปัญหาชั่วโมงเรียนเกิน 200 ชั่วโมงต่อเทอม สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียนระดับประถมศึกษาได้


          This research aimed 1) to create the model of the model of KM for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community 2) to develop the local curriculum for creative economic development and sustainable community and 3) to extend the result of the model of the model of KM for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community. This is participatory action research, with one of the secondary schools in District Banlad, Petchburi province.


               The research revealed that


  1. The model of KM for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community consisted of awareness, knowledge acquisition and creation, systematic knowledge storage, knowledge access and sharing, and application of knowledge.

  2. The local curriculum for creative economic development and sustainable community was integrated with the learning of C21 skill, which consisted of 7 modules: local need assessment, project-based learning, integrative learning activity, professional learning activity, KPA assessment, career path and competency development, and learning technology.

The extension of the model of the model of KM for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community revealed that eleven school principals in Banlat District agreed that the model of Knowledge management for local wisdom in school towards creative economic development and sustainable community was well rounded since the model covers all necessary aspects of trying to keep and preserve the local wisdom and they also agreed that the model is useful and it can be integrated to the core curriculum in their schools. The classroom time was less than 200 hours a semester.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ