รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน

Main Article Content

ณัฐพล อมตวณิช
บรรพต วิรุณราช

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงการด้านพลังงานทดแทนทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติรวมทั้งสิ้นจำนวน 17 ท่าน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญนั้นยึดหลักของการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย  (Delphi  Technique)  ที่ค่าความคลาดเคลื่อนที่  0.04  (Macmillan, 1971) 


            ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน ควรประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณาซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 หมวด ในแต่ละหมวดจะแบ่งออกเป็นด้านย่อยได้ทั้งหมด 25 ด้าน ดังนี้ 1.หมวดเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 1.1ด้านความคิดริเริ่ม 1.2ด้านเทคนิคทางวิศวกรรม 1.3ด้านระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 2.หมวดทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ 2.1ด้านสิ่งแวดล้อม 2.2ด้านสุขภาพ 2.3ด้านทรัพยากรและการวางแผนพลังงาน 3.หมวดสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3.1ด้านสังคมโดยรวม 3.2ด้านการปรับปรุงการคุณภาพชีวิตของสังคมและชุมชน 3.3  ด้านการสร้างงานให้คนในชุมชน 3.4ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อชุมชนและท้องถิ่น 3.5ด้านการสร้างความตระหนัก 3.6ด้านการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืนและเติบโตอย่างมั่นคง (มุ่งเน้นการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม) 3.7ด้านการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสีย 4.หมวดเศรษฐศาสตร์ การเงินและการตลาด 4.1ด้านเศรษฐกิจและผลตอบแทนการลงทุน 4.2ด้านการตลาดและพาณิชยกิจ 4.3ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 4.4ด้านการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 5.หมวดความเป็นเลิศในการดำเนินการ 5.1ด้านการดำเนินการและการบำรุงรักษาโครงการ 5.2ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 5.3ด้านสมรรถนะของบุคลากรในการดำเนินโครงการ 5.4ด้านผู้ค้า ผู้ส่งมอบ และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง (มุ่งเน้นที่ผู้ค้า ผู้ส่งมอบ วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง ) 6.หมวดการจัดการองค์ความรู้และประยุกต์นำไปใช้งาน 6.1ด้านความสามารถในการจำลองและนำไปใช้งาน 6.2ด้านการใช้องค์ความรู้และทรัพยากรภายในประเทศ 6.3ด้านการแบ่งปันองค์ความรู้ (มุ่งเน้นการจัดการความรู้ทางด้านวิชาการ ลิขสิทธิ์ และการฝึกอบรม ฯลฯ) 6.4ด้านรูปแบบการนำเสนอโครงการ


             This research aims to study the new model of indicators for considering renewable energy projects. It is qualitative research to collect data using in-depth interviews, the samples included 17 persons renewable energy specialists who participate in national and international renewable energy projects. Then approach to content analysis and synthesizing information process by Delphi Technique.


             The results of this study found that the new model of indicators for considering renewable energy projects should contain 6 criteria and 25 sub criteria as the following these; 1.Technology and Innovation Management (1.1Originality 1.2Technical Engineering 1.3State of Technology) 2.Natural Resource Environmental and Health (2.1Environmental 2.2Health 2.3Resource and Energy Planning) 3.Social Stakeholder and Sustainable Development (3.1Overall Social 3.2Quality of Life Development to Social and Community 3.3Create Local Content 3.4Local Economy Development 3.5Awareness 3.6Sustainable Urban and Rural Development 3.7Stakeholders) 4. Economics Finance and Marketing (4.1Economic and Return 4.2Marketing and Commercial 4.3Value Added Contribution 4.4Competitive Advantage) 5.Operational Excellence (5.1Operation and Maintenance 5.2 Management Efficiency 5.3Competency Management in Organizations 5.4Suppliers and Partners) 6.Knowledge Management and Application (6.1Replicability and Models 6.2Local Knowledge and Resource Management 6.3Knowledge Sharing 6.4Project Presentation)


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ