ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการปฎิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสมของ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา (สมัครพลผดุง)

Main Article Content

ทรายแก้ว ก๋องแก้ว
อุรปรีย์ เกิดในมงคล
นวลฉวี ประเสริฐสุข

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสม  ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (2) เพี่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสมของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ที่มีคะแนนการปฏิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสมต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แล้วนำมาสุ่มแบบจับคู่คนที่มีคะแนนการปฎิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสมใกล้เคียงกัน เป็นคู่กันและในแต่ละคู่ใช้สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อแยกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ    20 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามการปฎิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสม และกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการปฎิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสม จำนวน 10 กิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล  ใช้ t-test (Dependent Sample)


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มทดลองมีคะแนนการปฎิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

  2. กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมีคะแนนการปฎิบัติตนต่อเพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสมสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             The purposes of this research were: 1) to compare the interaction with opposite sex of female students of the experimental group before and after using the activities to improve the interaction with opposite sex, 2) to compare the experimental group and the control group after the treatment. A sample group was 40 female students in the junior high school of Thedsaban Song Wat Sanaeha (Samakpolphadung) School, Nakonpathom Province, who gained scores on the interaction with opposite sex test lower than 50 percentile and paired them up in groups of two by score matching and divided them again into groups of twenty of control and groups of twenty of the experimental group by lot.


             Instruments used to collect data were 1) Ten group activities for developing the interaction with opposite sex which the researcher created up. 2) A questionnaire about the interaction with opposite sex. Both the control and the experimental group took pretest and posttest. Data were analyzed through t-test (Dependent Sample). The results were:


               1.The student’s interaction with opposite sex after using group activities was significantly higher than that before using group activities at the .05 level.


               2.The student's interaction with opposite sex after using group activities was significantly higher than that group not using group activities at the .05 level.


               In conclusion, the results of this research revealed that group activities could improve student’s interaction with opposite sex effectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ