การประเมินผลการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Main Article Content

มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย

Abstract

             การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวนทั้งสิ้น             412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์  สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติบรรยาย (ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาชั้นปีต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สถิติ one-way ANOVA  และการทดสอบรายคู่ Post hoc Comparison


             ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เท่ากับ 18.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน เมื่อจำแนกตามชั้นปีพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มากที่สุด คือ 23.85 คะแนน รวมทั้งพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ระหว่างชั้นปีของนักศึกษาที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยคะแนนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05     


            In this survey research, the creative problem solving skill of 412 undergraduate students at King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) was assessed using the creative problem solving assessment form. Then, the mean values and the associated standard deviations of this assessment were calculated and compared between each level of the students, namely, the first year, second year, third year and fourth year students. The comparison of the mean values was based on one-way ANOVA and post hoc comparison. The result showed that, the overall mean value is 18.57 out of 36.00. Furthermore, among each level of the students, the fourth year students had the largest mean value which is 23.85 and there was a statistically significant difference between the mean values between each level of students (the significant level is 0.05).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ