ระบบการตัดเกรดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เหมาะสมกับบริบทการจัดการศึกษา ของมหาวิทยาลัยในระบบเปิด

Main Article Content

ศจี จิระโร
ศศิธร บัวทอง

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับระบบการ
ตัดเกรดที่สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ซึ่งมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากการจัดการศึกษาทั่วไป โดยการค้นคว้าแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดเกรด การวิเคราะห์ผลการกำหนดเกรด และการสัมภาษณ์อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในระบบเปิด การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการศึกษา และนำข้อค้นพบที่ได้ มายกร่างแนวทางสำหรับระบบการตัดเกรดของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์การตัดเกรด แบบ 3 ลำดับขั้น มีจุดเด่นที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนทางไกล ลดแหล่งความคลาดเคลื่อนในการประมาณระดับผลการเรียนของนักศึกษา เกณฑ์การตัดเกรด แบบ 8 ลำดับขั้น มีจุดเด่นในประเด็นที่สอดคล้องกับระบบการตัดเกรดของมหาวิทยาลัยในระบบปิดทั่วไป นักศึกษาที่มีความสามารถระดับกลางค่อนข้างสูงจะมีแรงจูงใจในการเรียน


               ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานระบบการตัดเกรด โดยการพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา และผลสรุปจากการสนทนากลุ่ม ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า การเลือกใช้ระบบการตัดเกรดที่เหมาะสม นอกจากจะพิจารณาจากการเป็นที่ยอมรับของสากลแล้ว ควรพิจารณาตามหลักการวัดและประเมินผล และความเหมาะสมกับบริบทการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยด้วย ส่วนผลการสะท้อนคิดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการตัดเกรด จะต้องขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย และควรมีการจำลองระบบและทดลองใช้ระบบดังกล่าว ก่อนที่จะดำเนินการใช้จริง


          This research aims to offer guidance to perform grading of the distance education system which difference the closed education system. The methods to collect data of this research are researching the concept of grade, analysis of grades and interviews with university professors in open education systems. The research found that the traditional grading for three level reducing sources of error in estimating the grade of the student. The criteria for grading the eighth level is featured in the issue in accordance with the grading system of the general university. Students who are able to have a fairly high level and motivation to learn. The results of the focus groups and resolutions of the council concluded that the use of the grading system in addition to considering the adoption of general university, consider the principles of measurement and evaluation and appropriateness to the theme of education of universities. The results reflect involved concluded that if there are changes to the grading system. Stake holders will need the cooperation of many partied and there should be a system simulation and test prior to the anouncement. The criteria that should be considered in the grading system, consisting of second grading system based on the findings in the first such first grading system to rank the eight level and second grading system. In terms of evaluation criteria consists of evaluating the retest pass to regrade, reporting the grades of honors. Evaluation of students who took the Walk-in examination computer base testing related to the evaluation of the first phase includes preparation for second phase and third phase policy actions implemented in practice.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ