รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทัน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Main Article Content

พิมพ์ใจ ทายะติ
ชไมพร ดิสถาพร
ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ วิธีการวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจข้อมูลโดยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเฉลี่ยในระดับปานกลาง โดยมีขีดความสามารถระดับปานกลางในองค์ประกอบของเรื่อง การเข้าถึง การประเมิน การรวมรวม การจัดการ และระดับต่ำ ในองค์ประกอบของเรื่อง การสร้าง ผลการสำรวจผู้วิจัยนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การรับข้อมูล (Information Receiving) คือ พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆที่ถูกเรียกว่า โซเชียล ได้แก่ การสืบค้น การสานต่อ การสมัคร การสะสม และการสอนและสร้างสัมพันธ์ 2) การหยุดคิด (Stop Thinking) คือ การหยุดพิจารณาคิดไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับมากโดยใช้หลักการ 5 ส ซึ่งประกอบด้วย สมจริง สร้างประโยชน์ สำคัญ สร้างสรรค์ และ สุภาพเหมาะสม 3) การปฏิบัติ (Acting) คือ พฤติกรรมใหม่ของผู้สูงอายุในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆหลังจากได้ใช้หลัก 5 ส ในการประเมินข้อมูล เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


 


              The research on the model of Thai elderly learning management for Information and Communication Technology Literacy was aimed at 1) studying and surveying information on elderly Thai people and communication technology competency; 2) developing a model for learning management for elderly Thai people and information and communication technology literacy. The study were both quantitative and qualitative oriented applying the methods of document analysis, survey and in-depth interview.


             The research found that the elderly Thai information and communication technology competency average was at a medium level (2.85). Management, evaluation, integration and assessment components were at a medium level and creative components was at low level. The proposed model derived from the results consisted of three components. Firstly, “Information Receiving” is from current social media behavior; such as search, share, save, suggest and subscribe. Secondly, “Stop Thinking” means stop and ask yourself with 5S i.e. Is it true? Is it useful? Is it necessary? Is it inspire? Is it kind? Third, “Acting” is the new behavior after ask by 5S for Information and Communication Technology Literacy.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ