ทำความเข้าใจกระบวนการปรองดองของรัฐบาลอินเดียภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรีซิกข์มานโมฮัน ซิงห์ ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่กระทำต่อชาวซิกข์ในปี 1984-1993

Main Article Content

ศิวัช ศรีโภคางกุล
อินธิดา จำนงนิตย์

Abstract

               เหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงรัฐบาลอินทิรา คานธี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นชื่อที่สุดเหตุการณ์หนึ่งคือการส่งกองกำลังทหาร รถถัง และอาวุธสงครามเข้าไปโจมตีพระวิหารทองคำ ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ที่สุดและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนซิกข์ โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตที่มักได้รับการอ้างถึงคือ 5,000 คน รัฐบาลเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน” ต่อมา อินทิรา คานธี ถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ประจำตัวชาวซิกข์ ส่งผลให้แผ่นดินอินเดียลุกเป็นไฟอีกครั้ง มีการฆ่าชาวซิกข์ขนานใหญ่ เผาศาสนสถานประจำเมืองและเผาแหล่งธุรกิจของชาวซิกข์ โดยเฉพาะในกรุงเดลลีและพื้นที่รอบ ๆ ประมาณกันว่าชาวซิกข์ถูกฆ่าตาย 4,000-5,000 คน ร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 10 ในจำนวนดังกล่าวถูกเผาขณะยังมีชีวิตอยู่ จนเสียชีวิต และชาวซิกข์นับ 50,000-60,000 คนต้องอพยพกลายเป็นผู้ไร้บ้าน อีกทั้ง ภายใต้การบริหารงานของราจีฟ คานธีบุตรชายคนโตของนางอินทิรา คานธี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็เต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรงต่อชาวซิกข์ นักวิชาการจำนวนหนึ่งสะท้อนภาพว่า ไม่เคยมีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ใด ๆ ในอินเดียที่ทุกข์ทรมานมากไปกว่าที่เคยเกี่ยวข้องกับแคว้นปัญจาบ ถิ่นฐานของชาวซิกข์ ที่ประกอบด้วยร้อยละ 55-60 ในพื้นที่ ชาวซิกข์อย่างน้อย  20,000-30,000 ชีวิตต้องสังเวยชีวิตไปจากความรุนแรงทางการเมืองนับตั้งแต่ปี 1981 -1993 ส่งผลให้ความทรงจำของชาวซิกข์จำนวนหนึ่งที่มีต่อรัฐบาลอินเดียยังคงขมขื่นตลอดมา


                บทความนี้เป็นการศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการปรองดองของรัฐบาลอินเดียภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรีซิกข์มานโมฮัน ซิงห์ ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่กระทำต่อชาวซิกข์ในปี 1984-1993 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดสำคัญของเหตุการณ์การโจมตีพระวิหารทองคำปี 1984 กระบวนการปรองดองร่วมสมัยของรัฐบาลอินเดียที่กระทำต่อชาวซิกข์อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ปี 1984 เป็นต้นมา และวิเคราะห์ถึงรูปแบบที่ใช้ในการปรองดองที่ส่งผลต่อความทรงจำให้ชาวซิกข์และสังเคราะห์ถึงรูปแบบดังกล่าวที่มีนัยในมโนทัศน์ว่าด้วยการปรองดอง โดยผู้เขียนอาศัยการค้นคว้าจากหนังสือ วารสารวิชาการ และสื่อออนไลน์จำนวนมากเพื่อจะตอบคำถามดังกล่าว


             นับแต่ปี 2004-2014 ประเทศอินเดียมีนายกรัฐมนตรีเป็นชาวซิกข์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือมานโมฮัน ซิงห์ นโยบายสำคัญที่เขาประกาศไว้และพยายามทำนับจากดำรงตำแหน่งคือการหาหนทางปรองดองกับชาวซิกข์ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปี 1984-1993 แม้มานโมฮัน ซิงห์จะทำหลายประการไม่ว่าจะเป็นการกล่าวขอโทษผ่านสาธารณะต่อชาวซิกข์แทนรัฐบาลในอดีต หรือตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงต่อเหตุการณ์ในอดีต อย่างไรก็ตาม บทความนี้ ผู้เขียนจะถกเถียงว่า รูปแบบการปรองดองของรัฐบาลอินเดียที่กระทำต่อชาวซิกข์คือขอให้ลืมเหตุการณ์ในอดีต ไม่ควรฟื้นฝอยหาตะเข็บแต่อย่างใด ควรมุ่งไปสู่อนาคตแทน ไม่มีการทำ “ความจริง” ให้ปรากฏ ไม่แตะต้องผู้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการใช้ความรุนแรงต่อชาวซิกข์ ซึ่งแน่นอนว่า เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องและความทุกข์ทรมานของเหยื่อ ไม่มีการสร้างความทรงจำผ่านประดิษฐานใด ๆ เพื่อตอกย้ำว่าเหตุการณ์ในอดีตจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง ตลอดจน ไม่มีการศึกษาว่าเหตุใดความรุนแรงทางเชื้อชาติศาสนาในประเทศอินเดียถึงถูกทำให้เป็นสถาบันได้เยี่ยงนี้ ท้ายที่สุดแล้ว สังคมอินเดียจึงเผชิญปัญหาความไม่ลงตัวต่อกระบวนการปรองดอง ในช่วงท้ายบทความ ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการปรองดองของประเทศอินเดียส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมการเมืองอย่างไรและสื่อนัยใดต่อการปรองดองในสังคมไทย


 


               One of the most violent events in Indira Gandhi Government was to send the Indian army, tanks and war weapons in destroying The Golden Temple, the most holy place for the Sikhs, 5,000 dead estimated. This event was in government terms “Operation Blue Star”. Latterly, Mrs. Indira Gandhi was killed by two of her Sikh bodyguards that led to nationwide anti-Sikh riots, for example, Sikh massacres, the burning of Sikh temples in many provinces and the burning of Sikh businesses in Delhi, 4,000-5,000 killed estimated too. In 5-10 percentage of those burned alive and more 50,000-60,000 Sikhs were homeless. Mr. Rajiv Gandhi, the next prime minister and the first son of Indira, still implemented the violent policies to the Sikhs.


               Some intellectuals have described that no ethnic conflict in India has been more traumatic than the one involving the Punjab, "homeland" of the Sikhs, who make up some 55 to 60 percent of the local population. At least 20,000-30,000 Sikhs died in violent events since 1984-1993, those events have still been bitter memories of many Sikhs. This review article, the author raises questions that how have the reconciliation processes of India Government to the Sikhs been? How have the existing reconciliation forms affected the Sikhs? And how could those forms imply to reconciliation concept? The author used many books, international journals and online media to answer these questions.


               Manmohan Singh as the first Sikh Prime Minister, from 2004-2014, declared one of the crucial policies that to be implemented was to reconciliation process with the Sikhs for violent events during 1984-1993. His government expressed public apology for the 1984 anti-Sikh riots and set truth finding committee. In this paper, however, the author argues that reconciliation model of Indian Government toward the Sikhs has been to beg for forget in the past and not find fault with the past for toward only the future. Undoubtedly, this model has not sought the Truth and not touched the perpetrators or the involved for the past violence. This model, moreover, has ignored voices of the voiceless or victims and not rememorize through some public spaces or occasions to tell society that these traumatic pasts will never happen again. Certainly, no studies and research from India Government that how conflicts of different ethnic and religious could lead to violence many times and why institutionalized ethnic and religious violence in India could be normalized? etc.


               Finally, Indian societies have now confronted problematic reconciliation and the author will show how this reconciliation model affects negatively political society and what implication in Thai reconciliation at the end of the article.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ