พฤติกรรมการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาของครอบครัวคริสเตียนในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

บุหงา แสงกิตติคุณ
นวลฉวี ประเสริฐสุข

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาระดับพฤติกรรมการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาของบิดามารดาคริสเตียนในจังหวัดนครปฐม 2.) เปรียบเทียบพฤติกรรมการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนา ของบิดามารดาคริสเตียนในจังหวัดนครปฐม  จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล  ได้แก่ สถานภาพความเป็นบิดาหรือมารดา อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนบุตร และความถี่ในการปฏิบัติศาสนกิจ 3. ศึกษามุมมองและแนวทางการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาของบิดามารดาคริสเตียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บิดามารดา คริสเตียนที่สังกัดคริสตจักรในจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีบุตรอายุระหว่าง 6 – 15 ปี อย่างน้อยหนึ่งคนในครอบครัวนั้น รวมทั้งสิ้น 127 คู่ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติเปรียบเทียบ t- test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA)  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า 1.) พฤติกรรมการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาของบิดามารดาคริสเตียนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.994) 2.) พฤติกรรมการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาของบิดามารดาคริสเตียนเมื่อจำแนกตาม อายุ การศึกษา อาชีพ จำนวนบุตรและความถี่ในการปฏิบัติกิจศาสนกิจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  แต่เมื่อจำแนกตามสถานภาพความเป็นบิดาหรือมารดาไม่แตกต่างกัน 3. มุมมองและแนวทางการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาของบิดามารดาคริสเตียน พบว่า พฤติกรรมการถ่ายทอดแนวปฏิบัติทางศาสนาในปัจจุบันของบิดามารดาเพิ่มขึ้นจากอดีต บิดามารดาคริสเตียนมีความกระตือรือร้นในการส่งบุตรเข้าร่วมกิจกรรมที่คริสตจักรเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้  ความเชื่อในพระเจ้าของบิดามารดาคริสเตียน ทัศนคติของบิดามารดาที่มีต่อบุตร อิทธิพลจากบุคคลผู้ใกล้ชิดเด็ก อิทธิพลจากสถาบันทางศาสนา  ความรู้ความเข้าใจในพระคริสตธรรมคัมภีร์ การมีเวลาปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาร่วมกับบุตร ช่วงเวลาในการถ่ายทอดความเชื่อหรือแนวปฏิบัติทางศาสนา สภาพแวดล้อมภายในบ้าน และเทคโนโลยี  ในด้านแนวทางการถ่ายทอดแนวปฏิบัติของบิดามารดาคริสเตียนมีดังนี้ การอบรมสั่งสอน ชี้แจง หรืออธิบายเหตุผลเรื่องราวทางศาสนา การเปิดโอกาสรับฟังความเห็นของบุตรด้านศาสนา ตอบคำถามของบุตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนา ตักเตือนเมื่อบุตรทำผิดพลาด ยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือบุคคลทางศาสนาคริสต์ที่เกิดอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระวจนะของพระเจ้า สอนโดยการท่องจำ ฝึกให้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตั้งแต่อายุยังน้อย เล่าเหตุการณ์หรืออ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์ วรรณกรรมคริสเตียนให้บุตรฟัง ส่งบุตรเขารับการศึกษาพระคริสตธรรมคัมภีร์ที่คริสตจักร และการนำบุตรให้ได้มีประสบการณ์จริงทางศาสนา และแนวทางส่งเสริมแนวปฏิบัติทางศาสนาโดยวิธีการดังต่อไปนี้ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างด้านศาสนา  ลงมือปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาร่วมกับบุตร ให้รางวัล หรือการชมเชย ส่งเสริม ให้บุตรได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาตามที่คริสตจักรได้จัดขึ้นจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านศาสนาให้บุตรที่บ้าน และการใช้บทเพลงทางศาสนากล่อมเกลา  


 


              The present study aimed (1) to explore levels of behaviors of religious practices of Christian parents in Nakhon Pathom province, (2) to compare those behaviors of religious practices found (in terms of parental status, ages, education levels, occupation, number of Children, frequency of religious practice) and (3) to study Christian parents’ perspectives on behaviors of religious practices. The samples of the study consisted of 127 randomly selected couples of parents, at least a child of which was between the age of 6 and 17. The parents were under the stewardship of the Evangelical Fellowship of Thailand (EFT), in Nakhon Pathom province. The research instruments used were questionnaire and interview. The statistical analyzing methods employed were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance (one-way ANOVA).


              The findings of the research revealed that socialization behaviors of religious practices of Christian parents are at medium level (= 2.994). Also, socialization behaviors of religious practices of Christian parents are significantly different at .05 in terms of ages, education levels, occupation, child number and frequency of performing religious practices. However, no difference is present from the analysis in terms of parental status. The findings also showed the parents’ perspectives on behaviors of religious practices that the current trend of socialization behaviors of religious practices has been increasing from the past. More Christian parents have been actively sending their children to join religious activities at church. This can be attributed to strong beliefs in the Lord, parents’ attitudes towards their children, influences from Christian institutions, parents’ better understanding of Bible, interactions between parents and children in religious activities, more socializing periods of beliefs and religious practices, living conditions and technology innovation. The parents have cultivated religious practices to their children in various ways e.g. direct instructing, reasoning and sharing of Christian religious practices, memorizing verses in Bible, reading Christian literature, studying Bible at church, listening Christian songs, learning by joining real Christian practices and activities, praising children, and setting suitable living conditions for learning Christian religious practices.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ