กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี 2) กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี และ3) ผลการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี โดยมีประชากร คือ ครูโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี จำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี แบบทดสอบการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียน แบบสอบถามวัดความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียน สำหรับครูและนักเรียน การประชุมสนทนากลุ่มระหว่างครูเครือข่ายวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย คือ ร้อยละ ร้อยละความก้าวหน้า ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการอ่านของโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี มีกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์เครือข่าย กลยุทธ์การมีส่วนร่วม กลยุทธ์การเสริมพลังอำนาจ และกลยุทธ์การบูรณาการใช้ในการขับเคลื่อนครูในการพัฒนาคุณภาพการอ่าน ได้แก่ การอ่านออกเสียง และการอ่านจับใจความ 2) กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนที่ครูเครือข่ายในโรงเรียนใช้ในการพัฒนาคุณภาพการอ่านของโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ 3) ผลการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี พบว่า หลังการใช้ กลยุทธ์การพัฒนา นักเรียนมีระดับคุณภาพการอ่านภาษาไทย อยู่ในระดับดีเยี่ยม และมีร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 33.91
This research aiming to study: 1) the strategy for mobilizing reading quality development of students at Anuban Phetchaburi School, 2) the strategy for reading quality development of students at Anuban Phetchaburi School, and 3) the results of reading quality development of students at Anuban Phetchaburi School. The population consisted of 5 teachers and 227 Prathomsuksa 3 students of Anuban Phetchaburi School. The research tools were a handbook for reading quality development of students in Anuban Phetchaburi School, a test of research for development of learning on development of students’ reading quality, a questionnaire for students and teachers to give the opinion on development of students’ reading quality, and focus group discussion of research network teachers. The data were analyzed by using descriptive statistics: percentage, percentage of progress, mean, and standard deviation, and t-test. The research results were as follows: 1) there were four strategies for mobilizing reading quality development of students at Anuban Phetchaburi School consisting of network strategy, participation strategy, empowerment strategy, and integration strategy. Reading aloud and reading for comprehension were used by the teachers for mobilization of reading quality development, 2) the action research was the strategy the school network teachers used for developing reading quality of students at Anuban Phetchaburi School and 3) the results of reading quality development of students at Anuban Phetchaburi School revealed that the quality of students’ Thai language reading skill after using development strategy was at an excellent level with the progress percentage at 33.91.