เครื่องแต่งกายที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ไทยตั้งแต่ปี พ. ศ. 2544–2557
Main Article Content
Abstract
เครื่องแต่งกายที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2557 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ อันมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อศึกษาแนวคิดและอิทธิพลที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปินทั้ง 4 ท่าน ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2557
การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกศิลปินไทยที่นำเครื่องแต่งกายมาเป็นสื่อสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างต่อเนื่อง โดยศิลปินที่นำมาวิจัยมีทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่ผลงานของ วรรณลพ มีมาก, สุชา ศิลปชัยศรี, พรสวรรค์ จันทร์สุข และ มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้มากมาย รวมทั้งข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ศิลปินโดยตรง จนได้มาเป็นวิจัยเชิงคุณภาพและนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาประกอบกับผลงานศิลปะ และวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกายที่ปรากฏในผลงานศิลปะทัศนศิลป์ไทย ชุดผลงานที่นำมาวิจัยนั้นเป็นผลงานชิ้นที่มีความโดดเด่นของศิลปิน ซึ่งจากการวิจัยพบว่ามีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินมาจากสภาพสังคมและวัฒนธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น วิถีชีวิต ค่านิยม การศึกษา การเมือง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกันทำให้ศิลปินนำมาเป็นแนวคิดและแรงจูงใจในการแสดงออก การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อีกทั้งผู้วิจัยยังพบว่าเครื่องแต่งกายถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการบอกเล่าแนวคิดจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวศิลปินเองที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน
เครื่องแต่งกายที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2557 ที่ปรากฏในผลงานของศิลปินทั้ง 4 ท่าน เป็นการกระตุ้นเตือนใจให้สังคมได้ฉุกคิดถึงแง่มุมและประเด็นที่ศิลปินได้สื่อผ่าน แนวความคิดจนนำเสนอออกมาสู่การสร้างสรรค์เป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความงามทางศิลปะเป็นอย่างดี
Costume as symbol in Thai visual arts during 2001-2014. This was a qualitative research which aimed to study concept and influence which affected creativity of artworks of 4 artists during 2001–2014.
The researcher selected Thai artists who brought apparel to be a symbol of creating artwork continuously. The four selected artists were Khun Wanlop Meemak, Khun Sucha Silapachaisri, Khun Pornsawhan Jansook and Khun Manit Sriwanichpoom. The researchers surveyed and gathered information from many learning resources including interviewing artists. Finally, it became to be a qualitative research and was descriptively analyzed with artworks. Moreover, the influence of apparel which appeared in Thai visual art was analyzed. The sets of artwork which brought to do this research had distinction. The result of research was found that the main factors that affected creating artwork of artists were society and culture in the past and the present such as lifestyle, value, education, politics and changes of society. Those things were connected factors which artist used as concept and inspiration of presenting their creative artworks. Moreover, researcher found that apparel which was used to be a symbol of telling concept from experiences which happened to artists and they found in daily lives.
The apparel which was a symbol in Thai visual art since 2001–2014 appeared in artworks of 4 artists and encouraged and reminded society to recall aspects and issues which artists communicated through concepts and presented creativity of their works. Those works were so valuable and great things.