รูปแบบปั้นลม อาคารบ้านเรือนที่เปลี่ยนแปลงไปตามฐานานุศักดิ์ของผู้อาศัย
Main Article Content
Abstract
สถาปัตยกรรมไทยที่เป็นสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยของผู้คน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ได้ปรากฏรูปลักษณะต่าง ๆ อย่างหลากหลายมากมายด้วยรสนิยมทางศิลปะและวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา ซึ่งนอกเหนือจากรสนิยมด้านความงามที่มีผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยแล้วนั้นระบบฐานานุศักดิ์ทางสังคมก็เป็นอีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนเป็นตัวแปรสำคัญต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยเช่นกัน กล่าวคือ ประเทศไทยหรือประเทศสยามในอดีตใช้รูปแบบการปกครองในระบบศักดินา คือ ระบบสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น โดยกำหนดสิทธิ หน้าที่ และฐานะของแต่ละบุคคลในสังคม โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์เหนือหัวสูงสุด และทรงเป็นเจ้าของผืนแผ่นดินทั้งราชอาณาจักร บุคคลใดมียศศักดิ์ ฐานันดรสูงได้รับสิทธิ์ครอบครองที่ดินจำนวนมาก มีทรัพย์สินมาก ก็สามารถสร้างเรือนที่พักอาศัยที่มีรูปลักษณ์สวยงามคงทนแข็งแรง ส่วนบุคคลใดฐานันดรปานกลางถึงต่ำต้อยได้รับสิทธิ์ครอบครองที่ดินจำนวนน้อย มีเงินทองอย่างอัตคัด การสร้างที่พักอาศัยก็เป็นไปตามอัตภาพ ถึงแม้ว่าสังคมการเมืองการปกครองจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธระบบดังกล่าวได้อย่างสิ้นเชิง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความแตกต่างทางรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่พักอาศัย ทั้งวัสดุ โครงสร้าง รูปลักษณ์ ประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนการประดับตกแต่ง ดังนั้นจึงหยิบยกส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมตรงตำแหน่ง “จั่วบ้าน” หรือที่เรียกว่า “ปั้นลม” ที่ผู้เขียนพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถแสดงให้เห็นถึงภาพของการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบที่ปรากฏความแตกต่างอย่างชัดเจน และยังแสดงถึงระบบฐานานุศักดิ์ทางสังคมอันเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยได้อีกด้วย
Thai architecture pertaining to residential building constructions is one of the four essential factors for human livings. Its different variety based on artistic taste preferences and cultures of each past social periods is widely evident. Apart from the tastes of beauty having an impact on the styles of Thai architecture, social human classes and precedence is also another factor partly considered as an important variable for Thai architectural styles. That is, Thailand, with the former name “Siam Kingdom”, was, in the past, governed with feudalism. In fact, it is a social system with different social classes in which each citizen’s social rights, duties, and status are identified, and its monarch has the highest absolute power. In this regard, the monarch was the owner of the land all through the kingdom. The citizens with high status and precedence would have the right to own more lands and properties, so they were capable of constructing more durable and beautiful residences; whereas those with medium and low status and precedence would have the right to own smaller number of lands and properties with penurious money, respectively. As a consequence, the citizens’ residential constructions relied, with this regard, on their personal conditions. Despite the development and changes of social, political, and governmental conditions, the mentioned system cannot be entirely rejected. Therefore, it is an important factor affecting the differences of Thai residential architecture in the aspects of materials, structures, shapes or forms and styles, including usable benefits and decorations. As a result, one of the architectural components, called ‘a gable roofs is considered by the author of this paper as the one able to illustrate clear architectural differences for the form and style changes. They also reveal the social class and precedence system which is a causal factor impacting on Thai architecture.