การสร้างสรรค์ผลงานโครงการสาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์ในวิถีวัฒนธรรมข้าวไทย

Main Article Content

วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร
เตยงาม คุปตบุตร
พิษณุ ศุภนิมิตร

Abstract

            การสร้างสรรค์ผลงานโครงการสาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์ในวิถีวัฒนธรรมข้าวไทย (The Art Project of Ecological Aesthetic in Thai Rice Culture) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบโครงการศิลปะเพื่อสาธารณะโดยการเลือกสรรพื้นที่โดยเฉพาะ (Site-specific) ให้เกิดสุนทรีย์ในวิถีวัฒนธรรมข้าวไทยด้วยการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นบนผืนนาที่เป็นโครงสร้างใหม่ โดยมีนาของชาวนาอยู่ล้อมรอบ รูปแบบของผืนนาที่เป็นศิลปะมีแนวความคิดมาจากสามสิ่ง ประกอบด้วยลักษณะของนาขั้นบันไดที่มีความต่างระดับกัน ลักษณะของเวทีกลางแจ้งรูปวงกลมและสระน้ำสื่อถึงสระอโนดาดแห่งป่าหิมพานต์ ลักษณะเด่นของทั้งสามสิ่งถูกประกอบกันเข้าเป็นพื้นที่นาตามจินตนาการ โดยมีบ้านนาเดิมของชาวนาเป็นพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตของชาวนา รูปแบบนานี้เรียกว่า “นานิเวศสุนทรีย์” มีพื้นที่สร้างสรรค์รวม 2 ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พื้นที่ที่มีประวัติเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ดี


            กระบวนการมีส่วนร่วม และพื้นที่ “นานิเวศสุนทรีย์” ได้บูรณาการเอาศาสตร์ต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างความเหมาะสมใหม่แก่กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสุนทรียเชิงสัมพันธ์ตามวัตถุประสงค์ ศาสตร์ที่นำมาใช้ประกอบด้วยศาสตร์ด้านการเกษตรใช้ในการปลูกและดูแลข้าว, ด้านศิลปะใช้ในการสร้างสรรค์รูปแบบนา การสร้างสื่อเพื่อตกแต่งนา, ด้านวัฒนธรรมใช้ในประเพณีลงแขก, พิธีกรรมและสิ่งปลูกสร้าง, ด้านนิเวศวิทยาใช้ใน


            การควบคุมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ด้านสังคมใช้ในการเก็บข้อมูลชุมชน และกระบวนการมีส่วนร่วม การใช้แนวคิดเชิงบูรณาการสร้างความกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ให้กับผลงานทั้งหมดผลการสร้างสรรค์ทำให้พบความหมายใหม่ของ “สุนทรียเชิงสัมพันธ์” ที่เกิดจากพื้นที่เลือกสรรโดยเฉพาะ (site-specific) ในชุมชนชาวนาที่ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นรูปแบบ “นานิเวศ” จากพื้นที่ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่นี้ ได้แสดงถึงนิเวศสุนทรีย์ในวิถีวัฒนธรรมข้าวไทย ด้วยการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมและกระบวนการมีส่วนร่วม ด้วยรูปแบบที่วิเคราะห์รื้อสร้างเพื่อ “ความเหมาะสมแบบใหม่” 


 


              The objective of the Art Project of Ecological Aesthetic in Thai Rice Culture is to create a site-specific public art project for enabling aesthetics in Thai rice culture by creating relationships in the rice field under the new structure which is surrounded by the rice fields of other farmers. The concept comes from three ideas – the rice terraces, an outdoor circular arena and Anodard Pond referred in Himmapan Forest scripts. Features of these three ideas are combined into the imagined rice field. The farmer's existing house became an observation and learning space of farmer’s way of living. The form is called "ecological aesthetic rice field", a creative space includes two Rai of land located in the Ngew Lai sub-district, Nakhon Chai Si district, Nakhon Pathom province which has a long history of rice culture.The "ecological aesthetic rice field" uses relational aesthetic conceptual approach as a core of the aesthetic creation process integrating three participatory features. First, the science of agriculture is to grow rice and to observe the environment in the rice field. Second, the cultural process is to pay respect to the mother goddess of grain, to make merits for local spirits and locally gather for growing rice. Third, the artistic process is to arrange events of decorating the rice field with local wreath named Mahot and flags. All activities were planned to be conducted according to other farmers’ schedules in order to make the relations explicit. The outcome is the participation of three groups – the artist, the farmers and the public. The emerged aesthetics bases on the relationships of on-site participatory processes which connecting natural space, community networks and institutions. The aim was to learn about the rice culture, in order to transform the mindset and raising awareness about it.


                 The outcome of the creation reveals the new meaning of “relational aesthetic”, which emerges from the site-specific approach in farmer’s communities. The “ecological rice field” was created presenting the ecological aesthetic in Thai rice culture by creating environment and participatory process, with deconstructive analysis, in order to find “the new appropriation”. 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ