การศึกษาแนวคิดเรื่องความงามแห่งสรีระร่างกายที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเรื่องความงามแห่งสรีระร่างกายที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก 2) เพิ่มเติมความเข้าใจของเราเกี่ยวกับมุมมองของพุทธศาสนาที่มีต่อความงามประเภทนี้ได้ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในการวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความงามแห่งสรีระร่างกายที่พรรณนาอยู่ใน วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอรรถกถาของทั้งสองปิฎกนี้เป็นหลัก
ผลการวิจัยพบว่า ถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะมีคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน รวมทั้งคำสอนที่ไม่ให้ยึดมั่นในสิ่งต่างๆ แต่คำสอนเหล่านี้ก็ไม่ได้มุ่งแสดงว่า พุทธศาสนาปฏิเสธหรือรังเกียจความงามแห่งสรีระร่างกายในทุกแง่มุม เพราะในพระไตรปิฎกเอง มีข้อความเป็นจำนวนมากที่พรรณนาถึงความงามแห่งสรีระร่างกาย ทั้งของบุคคลทั่วไปตลอดจน พรรณนาไว้อย่างพิสดารในส่วนของพระพุทธเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม การพรรณนาความงามแห่งสรีระร่างกายนี้ไม่ใช่เพื่อให้ผู้คนหลงยึดถือ แต่เป็นการพรรณนาโดยอธิบายถึงสาเหตุหรือกรรมในอดีตที่ทำให้บุคคลนั้นๆได้มาซึ่งสรีระร่างกายอันงาม เชื้อเชิญให้ผู้คนบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุในลำดับแห่ง “ทาน” และ “ศีล” จากนั้นจึงค่อยพร้อมที่จะ “ภาวนา” พิจารณายอมรับการเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย ตามหลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง
The purposes of this research were to 1) study about the concept of beauty of body in Tripitaka. 2) increase our correct and clear understanding of the Buddhist perspective on this kind of beauty. This research used content analysis analyzed these concepts contained in Vinaya Pitaka , Suttanta Pitaka and Atthakatha (the commentaries) of these two Pitakas.
The results showed that although the teachings of Three marks of existence (Pali: tilakkhana),that is impermanence, unsatisfactoriness, and non-self, and of non-attachment are the essence of Buddhism but these are not mean that Buddhism refuse all views of the beauty of body. Because in Tripitaka has many contents that describe about external beauty such as the beauty of ordinary people’s body, the beauty of the Buddha’s body that has exquisitely describe. Tripitaka, however, not describe about the beauty of body for make one cling to it, but to describe the relation between external and internal beauty, in other words, it describe the past actions that cause external beauty of oneself in next life. These contents encourage people to fulfill their bases of meritorious action from the two first steps of dana (giving) and sila (morality) then to the highest step of bhavana (mental cultivation) or investigate impermanence of body according to the teaching of Three marks of existence as previously mentioned.