ดอกพะยอม : จากดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์สู่การออกแบบลวดลายผ้าชาวภูไทเขาวง
Main Article Content
Abstract
ชาวภูไทในเขตพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่รักษามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาซึ่งดำลงลักษณะอัตลักษณ์เฉพาะเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิถีชีวิต ภาษา การแต่งกายและประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการทอผ้า ซึ่งนอกจากเป็นอาชีพเสริมที่มีความสำคัญในฐานะการสืบทอดภูมิปัญญาต่อจากบรรพบุรุษแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นอย่างมาก จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่า ลวดลายผ้าทอส่วนใหญ่ของชาวภูไทพบมาที่มาและความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ดอกไม้ ภูเขา และสัตว์ที่เคารพนับถือ
บทความเรื่องนี้ ผู้เขียนได้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทอผ้าและลวดลายผ้าของชาวภูไท ในพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับใช้ในการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ โดยใช้ดอกพะยอมซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์มาเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อใช้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้าย โดยเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากภูมิปัญญา เอกลักษณ์ สภาพสังคม วัฒนธรรมประเพณีของชาวภูไท
Phutai people living in Khaowong District, Kalasin Province, is an ethnic group that continues to firmly preserve their cultural heritage and local wisdom . Their unique identities include the livelihood, language, costume and traditions. Especially, the textile weaving, besides it has been an additional occupation that plays significant role as a way to heritage the ancestor’s wisdom, it has also highly generated incomes into the locals. According to the field study trips to gather data in the area, it was found that the background Phutai woven textiles mainly originated and linked with the nature, flower, mountain and animals considered sacred.
This article aims to explore and collect data on the weaving process and textile patterns of Phutai people in the area of Khao Waong District in Kalasin Province. It is expected that the gathered data will be used as primary information for designing the new textile pattern inspired by Dok Phayom flower, the provincial flower of Kalasin Province. The gathered data is also aimed to use as to develop the forms of cotton products and cotton processed products by linking with the information sources gathered from the local wisdom, identities, social status, culture and traditions of Phutai people.