จาก"สุขภาพ" สู่ "สุขภาวะ" : การปฏิรูประบบสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทย
Main Article Content
Abstract
ในบทความวิชาการนี้ ผู้เขียนนำเสนอสถานการณ์การเปลี่ยนผ่าน และการขยายขอบเขตการทำงานอันเกี่ยวข้องกับสาธารณสุขของหน่วยงานราชการไทยผ่านการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ โดยแบ่งยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านออกเป็น 7 ยุค คือ ยุคที่ 1 มิชชันนารี ราชสำนัก โรงพยาบาล : การเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่, ยุคที่ 2 กำเนิดรัฐเวชกรรมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475, ยุคที่ 3 แผนพัฒนาการสาธารณสุขของประเทศไทยกับจัดระเบียบสุขภาพพลเมืองไทย, ยุคที่ 4 องค์กรอิสระทางสาธารณสุขกับปฏิบัติการปฏิรูประบบสุขภาพ, ยุคที่ 5 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับการปฏิรูประบบสุขภาพ, ยุคที่ 6 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 "ธรรมนูญสุขภาพของประเทศไทย" และยุคที่ 7 กระแสโลกกับปฏิบัติการดูแลสุขภาพ จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันรัฐไทยได้ปฏิรูประบบสุขภาพโดยขยายกรอบการทำงานของหน่วยงานด้านสาธารณสุขจากการดูแล "สุขภาพ" ไปสู่การดูแล "สุขภาวะ" ของพลเมืองไทย ซึ่งเปลี่ยนแปลงนิยามความหมายของสุขภาพในแบบเดิมให้ขยายสู่การเสริมสร้างให้พลเมืองไทยมีสุขภาพดี มีความสุขทั้งใน 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณ สอดคล้องกับนิยาม "สุขภาพ" ขององค์การอนามัยโลกที่ว่า “สุขภาพ หมายถึง สภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย จิต และสังคม และไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของการไม่มีโรคหรือความบกพร่องหรือขีดจำกัดด้านร่างกายและจิตใจ”
The author presented the situation of transiting and expanding of Thai government sector's public health mission via historical investigation. Transitional Periods were divided into 7 periods : the first period : Missionary, Royal Court, Hospital: The dissemination of modern medical knowledge, the second period: The birth of Medicalizing State after administrative reform in B.E.2475, the third period: Thailand's Public Health Development Planning and Health Collocation for Thai citizen, the fourth period : Public Health Independent Entity and Health System Reform Practice, the fifth period: Thai Health Promotion Foundation and Health System Reform, the sixth period : National Health Act B.E. 2550 "Thailand Health Charter" and the seventh period: World Trend and Health Care Practice. The author found that now Thai state drives health mission by expanding framework of public health department from caring "Thai citizen's health" to be "Thai citizen's well-being" and this action has changed old health definition to promote Thai citizen to have good health and be happy in all 4 dimensions: physical, mental, social and intellectual/spiritual health. This new definition conforms to "health" definition of World Health Organization which defines health as "State of complete physical, mental, and social well being, and not merely the absence of disease or infirmity."