การวิจัยและประเมินโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

มีชัย เอี่ยมจินดา
ณัฐกิตติ์ นาทา
บุษบา บัวสมบูรณ์

Abstract

            การวิจัยและประเมินโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) โดยใช้รูปแบบ CIPPI Model  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการสืบสานภาษาไทยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4) เพื่อประเมินผลผลิต/ผลลัพธ์ (Product) ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 5) เพื่อประเมินผลการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  


            กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายพระราชวังสนามจันทร์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งได้มาจากเลือกแบบเจาะจง ส่วนผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก จำนวนทั้งสิ้น               128 คน


            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการประเมินโครงการสืบสานภาษาไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


 


ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยดังนี้


            ด้านผลการประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการสืบสานภาษาไทยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.72, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยนักศึกษามีความคิดเห็นว่าการที่เลือกเรียนโครงการสืบสานภาษาไทยนั้นเพราะว่าเป็นโครงการที่มุ่งมั่นพัฒนาครูภาษาไทยโดยแท้จริง มีทุนการศึกษาให้ระหว่างเรียน


            ด้านผลประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input)  ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด   (=4.75, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และพิจารณารายข้อของทุกด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้โครงการสืบสานภาษาไทยได้กำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้สมัครโครงการได้อย่างเหมาะสม


            ด้านผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.69, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ


            ด้านผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.78, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ทั้งนี้มีความพึงพอใจกับนักศึกษาและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการสืบสานภาษาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้มีคุณภาพไม่เฉพาะทางวิชาภาษาไทยเท่านั้น แต่สามารถช่วยงานโรงเรียนหรือหน่วยงานได้เป็นอย่างดี 


            ด้านผลการประเมินผลกระทบ (Impact  Evaluation) ของโครงการสืบสานภาษาไทยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.86, S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีความคิดเห็นว่าโครงการสืบสานภาษาไทยได้คัดเลือกนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาไทยตั้งแต่สมัยเรียนประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษามาเรียนต่ออุดมศึกษา จึงเป็นข้อได้เปรียบโครงการอื่น ๆ 


 


           This research aims to evaluate “ Sueb sarn Pasathai” project carried on by Faculty of Education Silpakorn University.  The research used CIPP Model to evaluate which investigates 5 factors as following; 1) Context  2) input  3) Process  4) Product  and 5) Impact evaluation. Sample used in this study is 128 which included policy persons such as pro-vice chancellor, dean of education,  teaching staffs, graduates and current students as well as programme co-ordinator.  Research instruments are questionnaires and interview forms for gathering data and analyzed by using percentage (%)  Means (x) Standard Derivation (S.D.) for quantitative data and Content Analysis for qualitative data.


Results of the study show that;


               1)  Result of the context of the programme shows the satisfication of the programme was rated as 4.72  which means very high. This is because the programme offers granted support for students.


               2)  Resut of the input of the programme shows that the satisfication of the programme was rated as 4.75  which means very high.  The strength of the input is that the programme sets adequate criterias for selection properly qualified high school sudents.


               3)  Resut of the process of the programme shows that the satisfication of the programme was rated as 4.69  which means very high.  This implies that the process of the porgramme is designe dwell to meet the aims of the programme.


               4)  Resut of the product of the programme shows that the satisfication of the programme was rated as 4.78  which means very high.  All groups of the participants indicated the quality of both current students and graduates showing their abilities very well.


               5)  Result of the impact of the programme shows that the satisfication of the programme was rated as 4.86  which means very high.  The data from all group of participants indicated the programme incentive smart high school students to get in and offer support grants for them which id advantage.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ