ความรู้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือนของชุมชนบ้านตลาดเขต จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สวรรยา ธรรมอภิพล
กรวรรณ ม่วงลับ
นงลักษณ์ สืบนาค

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์จากครัวเรือน โดยเลือกพื้นที่ศึกษาชุมชนบ้านตลาดเขต จังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) (อ้างในเกียรติสุดา ศรีสุข, 2552 : 77)  โดยเลือกหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนเป็นผู้ตอบแบบสอบถามและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามจะนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและนำเสนอโดยการพรรณนาความ


            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 63.33 อายุ 51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 30.56 สมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ร้อยละ 51.67 ระยะเวลาที่อาศัยในชุมชน 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 82.22 ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1-6 ร้อยละ 42.22  ประกอบอาชีพหลักค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 49.44 และมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 56.60 ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 52.78 และต้องการข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 67.0 และเมื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 62.22 (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.61) และความรู้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46.11 (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.22)  วิธีการที่ใช้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เมื่อหมดอายุการใช้งานหรือชำรุดส่วนใหญ่จะขายให้แก่ซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่าแบบยกชิ้นโดยไม่มีการแยกชิ้นส่วนและไม่มีการคัดแยกออกจากขยะที่ขายได้ประเภทอื่น


 


              This research aims of this study was to study the knowledge on Electronic Waste and Household Waste Management of Ban-Talad-Khet Community, Kanchanaburi Province. The study was conducted using quantitative research methods and data collection using a questionnaire to measure the level of knowledge on the sample of 180 households using the sampling method by selecting the representative household. Data from the questionnaire will be taken check the completeness. Down the code and analyzed by using statistical percent average and level of knowledge.


               The study found that most of the samples, were male (63.33 %), aged 51 yrs. up (30.56% ), 4-6 household members (51.67 %), duration of living in community 10 yrs. up (82.22 %),  primary education level 1-6 (42.22 %), occupation of trade / business (49.44 %), average income is less than 10,000 baht per month (56.60 %), never received information about e-waste and e-waste management (67.0%) and need information (52.78%), high knowledge of electronic waste  (62.22%) and moderate knowledge of electronic waste management (46.11%). At the end of electrical equipment were sold to Saleng.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ