การตรวจสอบการทุจริตในการทดสอบด้วย DGIRTM 2 พารามิเตอร์

Main Article Content

อัมพล ชูสนุก
ไพรัตน์ วงษ์นาม
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของการตรวจสอบการทุจริตในการทดสอบด้วย DGIRTM 2 พารามิเตอร์ สำหรับข้อสอบแบบ ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน การจำลองข้อมูลดังกล่าวจำลองข้อมูลผลการตอบข้อสอบภายใต้ปัจจัยแปรเปลี่ยน 6 ปัจจัย คือ ความยาวของแบบทดสอบ 2 ขนาด ระดับความแตกต่างของการแจกแจงความยากรายข้อของข้อสอบ 2 ระดับ อำนาจจำแนกรายข้อของข้อสอบ 2 ระดับ ขนาดของการทำทุจริต 2 ระดับ ขนาดของการรั่วไหลของข้อสอบ 2 ระดับ และประสิทธิผลในการทำทุจริต 3 ระดับ รวมข้อมูลทั้งหมดที่ต้องจัดกระทำเพื่อตรวจสอบการทุจริตในการทดสอบจำนวน 96 เงื่อนไข (2×2×2×2×2×3) ในแต่ละเงื่อนไขจำลองข้อมูลวนซ้ำ 100 รอบ


               ผลการวิจัย พบว่า


            1. อัตราการควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของการตรวจสอบการทุจริตในการทดสอบด้วย DGIRTM 2 พารามิเตอร์ ภายใต้ปัจจัยที่แตกต่างกัน 6 ปัจจัย พบว่า ทุกเงื่อนไขไม่สามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด รายละเอียดผลการวิจัย พบว่า (1) ความยาวข้อสอบมีอิทธิพลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 (2) ระดับความแตกต่างของการแจกแจงความยากรายข้อของข้อสอบมีอิทธิพลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 (3) ระดับอำนาจจำแนกรายข้อของข้อสอบมีอิทธิพลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 (4) ขนาดของการทำทุจริตมีอิทธิพลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 (5) ขนาดของการรั่วไหลของข้อสอบมีอิทธิพลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และ (6) ประสิทธิผลในการทำทุจริตมีอิทธิพลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1


  1. อำนาจการทดสอบของการตรวจสอบการทุจริตในการทดสอบด้วย DGIRTM 2 พารามิเตอร์ภายใต้ปัจจัยที่แตกต่างกัน 6 ปัจจัย พบว่า ที่ระดับประสิทธิผลในการทำทุจริตต่ำ มีอำนาจการทดสอบต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนที่ระดับประสิทธิผลในการทำทุจริตปานกลาง และระดับประสิทธิผลในการทำทุจริตสูงมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด รายละเอียดผลการวิจัย พบว่า (1) ความยาวข้อสอบมีอิทธิพลต่ออำนาจการทดสอบ (2) ระดับความแตกต่างของการแจกแจงความยากรายข้อของข้อสอบมีอิทธิพลต่ออำนาจการทดสอบ (3) ระดับอำนาจจำแนกรายข้อของข้อสอบมีอิทธิพลต่ออำนาจการทดสอบ (4) ขนาดของการทำทุจริตมีอิทธิพลต่ออำนาจการทดสอบ (5) ขนาดของการรั่วไหลของข้อสอบมีอิทธิพลต่ออำนาจการทดสอบ และ (6) ประสิทธิผลในการทำทุจริตมีอิทธิพลต่ออำนาจการทดสอบ

         The purposes of this research were (1) to compare type I error rates and (2) to compare the power of test of examination cheating detection with 2 parameters DGIRTM for dichotomous scored items. In this study, the data was simulated under 6-factor variant, two levels forms of test length, two levels of distribution difference of item difficulty, two levels of item discrimination, two levels of cheating size, two levels of exposed item, and three levels of effective cheater. A total 96 (2×2×2×2×2×3) conditions were studied. The data was replicated 100 times for each condition.


               It was found that:


  1. Type I error rates of examination cheating detection with 2 parameters DGIRTM under 6-factor variant could not control for specified standard, details of the result were; (1) test length had influenced on type I error rate; (2) levels of distribution difference of item difficulty had influenced on type I error rate; (3) level of item discrimination had influenced on type I error rate; (4) levels of cheating size had influenced on type I error rate;(5) levels of exposed item had influenced on type I error rate; and (6) levels of effective cheater had influenced on type I error rate

  2. Power of test of examination cheating detection with 2 parameters DGIRTM under 6-factor variant were lower than specified standard in the condition of low effective cheater and higher than specified standard in the condition of medium and high effective cheater, details of the result were; (1) test length had influenced on power of test; (2) levels of distribution difference of item difficulty had influenced on power of test; (3) level of item discrimination had influenced on power of test; (4) levels of cheating size had influenced on power of test; (5) levels of exposed item had influenced on power of test; and (6) levels of effective cheater had influenced on power of test.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ