การศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาของผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่ากรณีศึกษา: ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

คณินณัฎฐ์ โอฬารวงศ์สกุล
ปฐวี อารยภานนท์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำรวจความคิดเห็นและศึกษารูปแบบพฤติกรรมการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า และเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาสำหรับผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองเก่า โดยใช้พื้นที่กรณีศึกษา: ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร ซึ่งการเก็บข้อมูลในการวิจัยนี้ใช้รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ทางตรง ด้านพฤติกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในชุมชนร่วมกับใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ดำเนินการสัมภาษณ์ด้วยการอ่าน และถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกโดยเจาะจง โดยเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในพื้นที่กรณีศึกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี ทั้งนี้ยังใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้สูงอายุที่มีการนับถือ และประกอบกิจกรรมทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง ผลการวิจัยได้สรุปถึงลักษณะพฤติกรรมการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองเก่า และอุปสรรคของพื้นที่ที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางศาสนานั้น รวมถึงข้อเสนอแนะในการออกแบบ ซึ่งพบว่าปัญหาที่พบมากที่สุด 3 อันดับในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา คือ  การเดิน และการช่วยพยุงในกรณีไปวัดคนเดียวหรือการเดินเวียนเทียน ร้อยละ 73.52 การขนย้ายสัมภาระเกี่ยวกับการตักบาตรไปยังจุดตักบาตรในชุมชน ร้อยละ 64.70  และการข้ามอุปสรรคบนทางสัญจรต่างๆภายในชุมชน ร้อยละ 52.94 ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถนำไปสู่แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเมืองเก่าที่สอดคล้องกับการใช้งานบนพื้นที่ และเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเมืองเก่าอย่างแท้จริง


 


             The main purpose of this research paper is to survey attitudes and study the elderlies' behaviour with religious activities in old town communities. This research is ultimately found out a more appropriate approach of product design to support religious activities in the old town area’s. The community that used in the case study is Nang-Loeng community in Bangkok, Thailand.  Moreover, the research applied direct observation methodology to collect data and information of the elderly’s behaviour and the way of practicing religious activities. Also, the research used the structured interviews to ask interviewee by reading the interview form to the focus group of 34. The focus group are aged of 60 or above who has been living in the area over 5 years. In addition, in-depth interviews with elderly religious experts and community leaders were also conducted. The research findings was summarized the elderlies' behavior with religious activities in old town communities, the obstacles of the area that prevents or reduces the religious activities as well as the suggestions in new design. Three of the most problems in religious activities are walking, Assistive walking which is 73.52 % have to be accompanied when walking to the temple. 64.70% is moving merit-making related items to the merit-making area, and 52.94% is overcoming road-related obstacles in the community. These problems suggest guidelines for the new designs that generate the better support elderly people’s religious activities in the old town area’s.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ