คาดหวัง การรับรู้ของนักศึกษา และ ความคิดเห็นของผู้ประกอบการในการประเมินผล การเรียนรู้การฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

ณัตตยา เอี่ยมคง

Abstract

          งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในระบบสหกิจศึกษา และศึกาความคิดเห็นของผู้ประกอบการในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้ประกอบการต่อการฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินตนเองของนักศึกษาสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ประกอบการ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงบรรยาย


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษาสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 27 คน เข้าสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจำนวน 16 แห่ง นักศึกษามีความคาดหวังและการรับรู้ ในด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านบุคลิกภาพ ด้านประสบการณ์ และด้านการพัฒนาตนเองที่ได้รับจากหน่ายงานที่นักศึกษาฝึกสหกิจศึกษาพบว่าอยู่ใน ระดับมาก ( = 4.21) และการรับรู้อยู่ในระดับมาก ( = 4.11)

          2. สถานประกอบการที่รับนักศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์วิชาชีพต่อนักศึกษาฝึกสหกิจศึกษาของสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำแนกโดยรวมพบว่า  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.60, S.D. = 0.54) ด้านทักษะพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.58)ด้านความสามารถทางสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.38) ด้านความสามารถและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.45) ด้านความสามารถตามสาขาวิชา อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.75) ทางสถานประกอบการมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาตลอดระยะเวลาการฝึกสหกิจศึกษาดังนี้ นักศึกษามีความตั้งใจในการทำงาน สามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความประพฤติเรียบร้อย มีความกระตือรือร้นและตั้งใจทำงาน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอย่างดีเยี่ยม สิ่งที่นักศึกษาควรได้รับการพัฒนา คือ การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายเพื่อสามารถนำมาใช้ในการประกอบอาชีพ และสร้างจุดเด่นจากการนำความคิดสร้างสรรค์มาประกอบการทำงานได้


 


             This research aims to study the expectation and perception of students in the business computer subject that practice in cooperative education and study the opinions of the establishments in evaluation learning outcomes of the students in the business computer subject that practice in cooperative education. The samples used in this study were  students in the majors Business Computer Faculty of Management Science of The Valaya Alongkorn Rajabhat University Under The Royal Patronage and the establishments who joined the cooperative education program. The instrument used to collect data was a student self-development form and entrepreneur evaluation form. The data were then analyzed for frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and descriptive statistics.


               The result showed that:


  1. The population were 27 students in the business computer subject of the Valaya Alongkorn Rajabhat University Under The Royal Patronage. Students practice in cooperative education at 16 establishments. Students have expectations and perceptions inthe knowledge, ability, personality, experience and self-development from the results of the cooperative education activities were found at a high level ( = 4.21) and perception was found at a high level. ( = 4.11)

     2.  The evaluation of learning outcomes of the cooperative education of the students. The result by overall were average scores at the highest level ( = 4.60, S.D. = 0.54) by basic skills were average score at the highest level ( = 4.53, S.D. = 0.58)by social skills were average scores at the highest level ( = 4.80, S.D. = 0.38) by capability and responsibility were average scores at the highest level ( = 4.71, S.D. = 0.45) by specific ability in subject field were average scores at the high level. ( = 4.38, S.D. = 0.75)
The establishments provide feedback about the practice of students in cooperative education were good situation. Students have good work intent with capability and responsibility. They have good mannered and social relation with enthusiasm to successes. The suggestion has been students should improve skill and learn more about the various sources of knowledge that can be used in their career and create a feature of bringing creativity to work.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ