องค์การแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการคนเก่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พลช กาญจนา
กมล สถาพร

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ การบริหารจัดการคนเก่ง และการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในเขต กรุงเทพมหานคร (3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลขององค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในเขต กรุงเทพมหานคร (4) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการบริหารจัดการคนเก่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ทุกๆตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งปฏิบัติการติดตั้งระบบ ตำแหน่งทดสอบและงานเขียนคู่มือ ตำแหน่งวิเคราะห์และออกแบบระบบ และตำแหน่งพัฒนาและบำรุงรักษาระบบ ที่อยู่ในกลุ่มบริษัทที่ผ่านมาตรฐานสากล CMMI (Capability Maturity Model Integration) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาเพื่อแจกแจงความถี่ แสดงค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิติการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง เพื่อหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐานด้วยสถิติ t-test, F-test และสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ(multiple regression)


               ผลการวิจัยพบว่า (1) นักพัฒนาซอฟต์แวร์มีระดับความคิดเห็นต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการคนเก่ง ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญปานกลาง และมีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก (2) คุณลักษณะของปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันมีระดับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์แตกต่างกัน (3) องค์การแห่งการเรียนรู้ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรอบรู้ ด้านรูปแบบความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเรียนรู้แบบเป็นทีม ด้านการคิดแบบเชิงระบบ มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยด้านที่กลุ่มตัวอย่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเรียนรู้แบบเป็นทีมและเป็นด้านที่ส่งผลต่อระดับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สูงที่สุด (4) การบริหารจัดการคนเก่ง มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยด้านที่กลุ่มตัวอย่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถสูง และเป็นด้านที่ส่งผลต่อระดับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สูงที่สุด จากผลการวิจัย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สามารถนำผลการวิจัยนี้ใช้ในการวางแผนการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเป็นการกระตุ้นการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ทำให้เกิดแนวคิดริเริ่มใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานให้ดียิ่งขึ้น


 


            The purposes of this research were as follows: (1) to explore opinions towards the learning organization, talent management and innovative thinking skills development of software developers in Bangkok Metropolitan Area, (2) to compare the different personal factors with innovative thinking skills development of software developers in Bangkok Metropolitan Area, (3) to analyze the influence of the learning organization which affects the innovative thinking skills development of software developers in Bangkok Metropolitan Area, (4) to analyze the influence of the talent management which affects the innovative thinking skills development of software developers in Bangkok Metropolitan Area. The sample was the software developers in Bangkok Metropolitan Area in every position such as Systems Implementation, Systems Testing, Systems Analysis and Systems Development which are in the companies that have been met the Capability Maturity Model Integration (CMMI) standard in Bangkok Metropolitan Area. The total of 450 samples, were selected by stratified and systematic sampling. The Data was collected by questionnaires. The statistics used in this study consisted of descriptive statistics for the frequency to illustrate the percentage and analyze data to test hypotheses including statistical analysis to comparison the difference. In order to find out arithmetic mean and standard deviation with statistical t-test,  F-test analysis and multiple regression statistics.


             The results of this research suggest that: (1) software developers have the opinions towards the learning organization and talent management in moderate level and they also have the opinions towards innovative thinking skills development of software developers in high level. (2) Different personal factors affect the different levels of the innovative thinking skills development of software developers. The research also found that (3) there are five parts in the learning organization; knowledge ability, thinking pattern, shared vision, team learning, systems thinking. Influence the innovative thinking skills development of software developers in Bangkok Metropolitan Area. The most important part evaluated by software developers is team learning and It significantly affects the innovative thinking skills development of software developers, (4) the talent management influences the innovative thinking skills development of software developers in Bangkok Metropolitan Area and the most important factor evaluated by software developers is retention talent which highly affects the innovative thinking skills development of software developers. As the result, Entrepreneur in the software industry can use the research result to plan the working process, encourage innovative thinking skill of the software developers and new idea to increase the work quality efficiently.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ