ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ชลกนก โฆษิตคณิน
ชนิดาภา ดีสุขอนันต์
วรเทพ ตรีวิจิตร

Abstract

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในแต่ละวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดนครปฐม จำนวน 161 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test, F- test (One Way ANOVA) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าระดับปัญหาอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาทุกด้านแตกต่างกัน ผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนที่จบสาขาวิชาบริหารมีปัญหาอุปสรรคในการจัดทำบัญชีด้านความรู้ความสามารถ ด้านเอกสารและวิธีการทางบัญชีและด้านเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานมากกว่าผู้จัดทำบัญชีที่จบสาขาวิชาบัญชี ส่วนประเด็นปัญหาด้านความร่วมมือและประสานงานผู้จัดทำบัญชีที่มีสาขาวิชาต่างกันมีประเด็นปัญหาที่ไม่แตกต่างกัน และผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น 1. ภาครัฐควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาอธิบายให้วิสาหกิจชุมชนเห็นความสำคัญของการจัดทำบัญชี และเกิดความรู้สึกต้องการจะทำบัญชี โดยกลุ่มนั้นจะต้องจัดหาผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนที่มีความรู้ความสามารถด้านบัญชี เพื่อจัดทำบัญชีและออกรายงานทางการเงินที่ถูกต้องเพื่อเสนอให้ภาครัฐทราบเพื่อขออนุมัติงบประมาณสนับสนุน รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปที่ทันสมัยในการจัดทำบัญชี 2. ภาครัฐและวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่มีความชำนาญด้านการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอาทิ การติดต่อประสานงาน การจัดส่งเอกสารที่ต้องใช้บันทึกบัญชีเพื่อป้องกันการบันทึกบัญชีผิดพลาดและเกิดความล่าช้า  3. ภาครัฐควรเข้ามาอบรมและพัฒนาความรู้ผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยมีรูปแบบและคู่มือการจัดทำบัญชีที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อมิให้ผู้จัดทำบัญชีเกิดความสับสนได้


 


               The purpose of this research was to study problems, obstacles and development on Bookkeeping of Community Enterprises in Nakhonpathom province .The 161 samples. Simple Random Sampling .The instrument was questionnaires. The statistical procedures employed to examine the data were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, F-test (One Way ANOVA) at statistical significant different at level 0.05.The findings are as follows : Problems and obstacles on Community Enterprises administration indicated at high level. The differentiation on Community Enterprises accountants’ education performed that the problem were significant different. Community Enterprises accountants who graduated with business major performed their problem and obstacle on knowledge, ability, documentary, accounting methodology, instrument than Community Enterprises accountants who graduated with accounting major. Upon the cooperation and coordination found that the differentiation on accountants who graduated with different major performed that their problem were not significant different. The differentiation on Community Enterprises accountants’ duration of experience performed that their different aspect point of view were statistical significant different at level 0.05. So 1. The government should provide staff to explain to the community enterprise the importance of accounting. And feel the need to make an account. The group will need to provide a community accountant with knowledgeable accountants. To make an account and issue the correct financial report to the government for approval of budget support. Including state-of-the-art computer and software programs for accounting. 2.The goverment and Community should be involved in providing guidance for community enterprise management. Liaison Delivery of documents that require accounting records to prevent erroneous accounting and delays. 3. The government or community should continue to train and develop knowledge of community enterprise accountants continuously with the format and manual. Keep accounting in the same direction so that the accountant can be confused.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ