การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ
ประภาเพ็ญ สุวรรณ

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้   มีวัตถุประสงค์หลัก  เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดนนทบุรี มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR)  แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะศึกษาสถานการณ์ของปัญหา   ระยะที่ 2  ระยะพัฒนารูปแบบฯ และนำรูปแบบไปทดลองใช้ ระยะที่ 3  ระยะการประเมินรูปแบบฯ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการวิจัยทุกขั้นตอน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับสถิติอ้างอิง ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของสมัชชาสุขภาพที่เหมาะสมมีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ 1) ด้านความเข้มแข็งของผู้นำในชุมชนและความสนใจในเรื่องสุขภาวะ 2) ด้านความเข้มแข็งของชุมชน 3) ด้านรูปแบบการดำเนินงาน 4) ด้านความร่วมมือของประชาชน 5) ด้านการดำเนินงานแบบบูรณาการในพื้นที่  รูปแบบฯมีองค์ประกอบ 8 ขั้นตอน และมี 12 กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ จากการนำกิจกรรมตามรูปแบบฯไปทดลองใช้ในชุมชน มีประเด็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน พบว่า หลังการทดลองใช้แผนกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นจากรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง ข้อค้นพบที่ได้สามารถนำมาสู่การประยุกต์ใช้รูปแบบฯที่ได้จากผลการศึกษานี้ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  และการนำนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพไปปฏิบัติในพื้นที่ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม


 


               The main objective of the research was to develop a moving healthy public policy model for Nonthaburi Provincial Health Assembly. The research was a participatory action research or PAR.  The research procedure consisted of three phrases, which were 1) the study of the problems’ current situation phase; 2) the development of the activity-plan and pretesting phase;  and 3)  the model evaluation phase.  Data was collected using focus group discussion, in-depth interviews, and questionnaires. The health assembly core members participated in all the steps of the research.  Data was analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean, standard deviation), inferential statistics (t-test, multiple stepwise regression analysis), and content analysis.


               The study found that the appropriate model to drive healthy public policy of Nonthaburi Provincial Health Assembly has 5 components, which were the community leaders’ strength and interest in health, the communities’ strength, operation approach, citizens’ cooperatioin, and integrative field operations. The results also revealed that there were 8 steps for 12 activities. The pretesting of the activity-plan that was developed  with the participants in the community, to reduce the risk of developing chronic diseases, with 100 sampled community people revealed that the experimental group had correct food consumption behavior that prevented the development of non-communicable chronic diseases, which was better than before the implementation. The findings obtained from this study can help determine healthy public policies and area-based healthy public policy adoption and implementation that are successful and yields concrete results.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ