การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม
คณิต เขียววิชัย
ลุยง วีระนาวิน
ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluatiom Research) โดยเป็นการประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประเมินหลักสูตรใน 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านสภาพแวดล้อม/บริบทของบริบท 2) ด้านปัจจัยสนับสนุนในหลักสูตร 3) ด้านสิ่งที่เกี่ยวข้องในหลักสูตร 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน  5) ด้านผลผลิตของหลักสูตร และการศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ความต้องการและข้อเสนอแนะ เพื่อให้การวิจัยนี้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ จึงได้กำหนดให้มีผู้ให้ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มกรรมการบริหารหลักสูตร 2) กลุ่มอาจารย์ผู้สอน 3) กลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2556-2557 และ 4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม และแนวทางการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติการแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. การประเมินสภาพแวดล้อม/บริบทของหลักสูตร ด้านวัตถุประสงค์ พบว่าคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ และนักศึกษามีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.52 -4.68) และเมื่อพิจารณาถึงด้านโครงสร้างหลักสูตร  พบว่า คณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ และนักศึกษา มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.55  -4.69) และในส่วนของด้านเนื้อหาวิชา พบว่า คณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ และนักศึกษามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า เนื้อหาหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.62-4.65)

  2. การประเมินปัจจัยนำเข้า ด้านปัจจัยสนับสนุนของหลักสูตร ได้แก่ ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการ สื่อ  ตำรา  และสถานที่  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ และนักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการตามหลักสูตรของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาสอดคล้องกัน โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด (x= 4.05-4.36)

  3. การประเมินสิ่งที่เกี่ยวข้องในหลักสูตร ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะผู้สอน  และด้านคุณลักษณะผู้เรียนก่อนและหลังหรือระหว่างเรียนในหลักสูตร พบว่า  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และนักศึกษามีความเหมาะสมทั้งในภาพรวมและรายข้อคำถามระดับมากที่สุด (x=4.80-4.90 ) เมื่อพิจารณาด้าน

คุณลักษณะผู้เรียนก่อนและ/หรือระหว่างเรียนในหลักสูตร และด้านการบริหารหลักสูตร พบว่าคณะกรรมการ


บริหารหลักสูตร และอาจารย์  มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมทั้งในภาพรวมและรายข้อคำถามระดับมากที่สุด ( x=4.80 -4.90)


  1. การกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตร พบว่าคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และนักศึกษามาความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา สอดคล้องกัน โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.71 -4.73)  ด้านกระบวนการเรียนการสอน  พบว่าความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและนักศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาสอดคล้องกัน  โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด            (x=4.80-4.78)  ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาพบว่า  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และนักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาสอดคล้องกัน  โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.65-4.68) 

  2. ด้านผลผลิตของหลักสูตร พบว่า คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ประจำในหลักสูตรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาสอดคล้องกัน โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x =4.60-4.70)

      6 .การศึกษาสภาพปัญหา  อุปสรรค  ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการบริหารจัดการหลักสูตร   พบว่า  ในสังคมอนาคตควรจะปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย มากขึ้น  โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบท และความต้องการของบุคคล สังคมและประเทศชาติ และควรมีคณาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ มาให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ตลอดจนควรมีการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมให้มากขึ้น  และเน้นสร้างนักวิจัยที่พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ  เพื่อนำมาพัฒนาสังคม


 


                 This research was the evaluation research. It was the formative evaluation which had the purpose to evaluate the curricula in five sides which 1) the environment/the context of context 2)the factors supporting the curriculum 3) the information involving the curricular 4) the learning activity 5)the outcome of the curricular and to study the problems, obstacles, the needs, the suggestion in order to achieve the setting purpose. There were four groups who gave the data of this research which were 1) the committee administering the curricular 2)the teachers 3)the students studying in 1-3 academic year of 2556-2557, and 4)the specialists. The data were collected as both the amount and the qualitative research. The tools used in this research were the questionnaires and the guideline of the interview. The analyzing data as the amount research used the frequency, the percentage, the mean(x), and the standard deviation(SD). The analyzing data as the qualitative research and the summarizing important issue came from the interview. The results were found that


  1. Evaluate the environment/ the context of the curricular in terms of the purpose was found that the committee administering the curricular, the teachers, and the students agreed that it was suitable at the high level (x=4.52  -4.68). When considering the curricular structure, it was found that the committee administering the curricular, the teachers, and the students agreed that it was suitable at the high level (x=4.55  -4.69). The context was found that that the committee administering the curricular, the teachers, and the students agreed that it was suitable at the high level (x=4.62-4.65).

  2. Examine the income factors in terms of factors supporting the curricular which were the resources used for operation, media, academic books, and place was found that the committee administering the curricular, the teachers, and the students had the opinion on the resources used for operation under the curricular of Master of Education majoring in the Development Education at the same way. They agreed that it was suitable at the the high level (x= 4.05-4.36).

  3. Eexamine the information involving the curricular consisted of 2 sides which were the characteristics of the teachers and the students before and after or during the study in the curricular. It was found that the committee administering the curricular, and the students agreed that it was suitable at the high level (x=4.80-4.90 ). When consider the characteristics of the teachers and the students before and after or during the study in the curricular and the administration of the curricular, they were found that the committee administering the curricular, and the teachers agreed that it was suitable generally and each question was suitable at the high level (x=4.80 -4.90).

  4. The learning activities of the curricular were found that the committeeadministering the curricular and the students agreed on the learning activities of the curricular of Master of Education majoring in the Development Education and agreed that it was suitable at the high level (x=4.71 -4.73).  The process of teaching was found that that the committee administering the curricular and the students had the opinon on the learning activities of the curricular of Master of Education majoring in the Development Education at the same way. They agreed that it was suitable at the high level (x=4.80-4.78). The evaluation was found that the committee administering the curricular and the students had the opinion on the evaluation of the curricular of Master of Education majoring in the Development Education at the same way. They agreed that it was suitable at the high level (x=4.65-4.68).

  5. The outcome of the curricular was found that the committee administering the curricular and the teachers of the curricular had the opinion on the curricular of Master of Education majoring in the Development Education at the same way. They agreed that it was suitable at the high level (x=4.60-4.70).

  6. To study the problems, the obstacles, the needs, and the suggestions of people whom involved in administering the curricular was found that the future society should improve the curricular more up to date suitably with the context and the needs of people, society and country. There should be the teachers having the knowledge and experience in variety of branches in order to exchange the knowledge throughout there should be more the academic service for the society. They should build the researchers developing the new innovations in order to develop the society.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ