การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

Main Article Content

ดนุชา สลีวงศ์
ณัตตยา เอี่ยมคง

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชน 2) ถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือบริหารจัดการสินค้าชุมชน 3) พัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 152 คน กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน จาก 4 ตำบล คือ  ตำบลคลองสาม ตำบลลำไทร ตำบลสามโคก และตำบลลาดหลุมแก้ว จำนวน 80 คน และผู้นำผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ วิธีการสังเคราะห์ข้อความหรือสรุปข้อความ และการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสรุปผลเป็นความเรียง


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชนมีช่องทางการขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางเฟสบุ๊ค จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 46.05 มีความต้องการจำเป็นที่จะมีเว็บไซต์หรือใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการขายสินค้าของตนเอง จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 81.58 และมีความต้องการในการเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้าเป็นอย่างมาก จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 88.82

  1. กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชนที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม

  2. รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ชุมชนผู้ผลิตสินค้าชุมชน (OTOP Community) 2) การมีส่วนร่วมของสังคม (Participation) 3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learn & Share) 4) การผสมผสาน (Integration) และ 5) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology)

  3. กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชนที่ใช้รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ พบว่า ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันในชุมชนมากขึ้น การแพร่กระจายของข้อมูลและข่าวสารทำได้ง่ายขึ้น โดยผู้นำชุมชนทำหน้าที่นำความรู้ที่ได้จากการให้คำปรึกษา ไปแนะนำ เผยแพร่สู่คนในชุมชนทั้งภายในและนอกตำบล การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนทำได้ดีขึ้นจากการที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้เทคโนโลยีเฟสบุ๊ค และไลน์ในการติดต่อสื่อสารช่วยให้บริหารจัดการสินค้าชุมชนได้ง่ายขึ้น

           The purpose of this research were to 1) Study the basic of using information technology in the management of product community. 2) To transfer the information technology to the management of product community. 3) To develop a model and apply the information technology with the management of product community for sustainable economic. 4) To study the results of applying the information technology application model to management of community product for economic sustainability. The sample consisted of 152 manufacturer and sellers of community products in Pathum Thani province. The group of manufacturer and sellers community products from 4 sub districts are Klong Sam, Lam Sai, Sam Kok and Lat Lum Kaeo and 80 person of manufacturer and sellers of community products. Research instruments include observation interviews and group discussions analysis of data using induction method and content analysis interpreted.


               The results shown that:


               The model of apply the information technology with the management of product community for economic sustainability consists of five components: 1) OTOP Community,  2) Participation, 3) Learn & Share and 5) Technology. The group of manufacturer and seller were used application of information technology with the management of product community for sustainable economic could improve the collaboration with participation and communication in the community with distribute of information by leader of community.  The leader of community is responsible of the knowledge and advice to the people in the community around the sub district. The product of sampling had develop their product by using Facebook and Line communication technology for more convenience in management purpose.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ