รูปแบบวิถีชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาวิถีชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม ในพื้นที่เขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร 2)ศึกษาความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานครและ3)  วิเคราะห์รูปแบบวิถีชีวิตแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ชนิดวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) กลุ่มเป้าหมายคือแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์จำนวน 9 คน กำหนดเกณฑ์การเลือก ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย (Inductive Approach)


            ผลวิจัยพบว่า 1) วิถีชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรมก่อนเข้ามาอาศัยและทำงานในประเทศไทยได้แก่ ลักษณะด้านเศรษฐกิจรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายต้องประหยัดค่าใช้จ่าย หางานทำยาก และค่าแรงต่ำลักษณะด้านสังคม อาศัยอยู่เป็นครอบครัวอยู่กับญาติพี่น้องซึ่งสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปจะอยู่เป็นหมู่บ้าน ลักษณะด้านวัฒนธรรมการบริโภคจะปลูกผักทำสวนและบางครอบครัวซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคก็จะเดินทางมาซื้อที่ตลาดและความเชื่อที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษจะเป็นในเรื่องของการนับถือผีบรรพบุรุษ และนับถือหมอผีซึ่งเป็นหมอผีประจำหมู่บ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีนับถือศาสนาพุทธนิกายเถร หลักคำสอนวิถีชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ หลังเข้ามาอาศัยและทำงานในประเทศไทย ได้แก่ ลักษณะด้านเศรษฐกิจมีความพอใจกับงานที่ทำแต่ต้องมีความอดทนในงานที่ทำเพราะต้องทำงานหนัก การทำงานในประเทศไทยดีกว่าทำงานที่เคยทำอยู่เป็นอย่างมาก ลักษณะด้านสังคม มีทีพักโดยอาศัยอยู่ที่บ้านของนายจ้าง มีการติดต่อกับเพื่อนๆ พ่อแม่และญาติพี่น้องทางบ้านที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ รายได้จากการทำงานและเหลือเก็บได้มีการส่งเงินให้กับพ่อแม่ครอบครัวหรือญาติพี่น้อง  ลักษณะด้านวัฒนธรรมการบริโภคเรื่องการรับประอาหารโดยส่วนใหญ่จะซื้ออาหารสดมาปรุงอาหารกันเอง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย 2) แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์มีความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพเมื่อมีอาการเจ็บป่วยมีการใช้บัตรสุขภาพ  มีการรักษาในสถานบริการของรัฐหรือของเอกชนและเมื่อมีการตั้งครรภ์มีการดูแลตนเองดูแลการตั้งครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอด  มีความสนใจเข้าใจที่จะฝากครรภ์กับสถานบริการของรัฐมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดูแลแต่มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องของการสื่อสาร และมีการปฏิบัติไม่เท่าเทียมในการรับบริการสุขภาพกับคนไทยโดยทั่วไปซึ่งเป็นการเป็นการทำให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ความต้องการด้านสุขภาพ  อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้ภาครัฐวางแผนนโยบาย 3) รูปแบบนี้สามารถพัฒนาในกระบวนการการพัฒนาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์และชาติพันธ์อื่นๆ ตามหลักการปรับแนวทางการจัดการให้รองรับการเปลี่ยนนโยบายทั้งในส่วนของภาครัฐและและภาคเอกชนด้านมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทย  ด้านการจัดระเบียบการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว โดยจะต้องสร้างแบบแผนใหม่ที่เป็นรูปแบบ  ในลักษณะที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงในเรื่องกฎหมายข้อบังคับเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาและแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์และแรงงานต่างด้าวในชาติพันธ์อื่นๆ


 


           The purpose of this research was to study1) to study the way of life Myanmar migrant workers in economic, social and cultural aspects in ​​khlongsamwaarea of Bangkok 2) to study knowledgethe attitudes and practices of the health of Myanmar migrant workers in khlongsamwa area of bangkok 3) analysis model of the way of life Myanmar migrant workers In klongsamwa area of bangkok. Qualitative Research ethnographic Research. The target group was nine migrant workers from Myanmar. Use specific tools such as in-depth interviews and non-engaging observations. In conjunction with the study of document information. Use triangulation Inductive approach to data analysis Analysis of Model of the way of life Myanmar migrant workers in klongsamwa area of bangkokbyvirtue of qualitative research, ethnographic research. The target group is the migrant workers of Myanmar migrant workers. With quality control tools Inductive data collection data collection includes in-depth interview and non-participant observation. Non-participant with document study  and content analysis


             The study found that.  1) The way of life of Myanmar migrant workers on economic, social and cultural aspects before coming to live and work in Thailand. The economic aspect of income is not enough to spend, it must save money, find hard work and low labor costs living in a family with relatives, the environment is generally a village. Cultural aspects of consumption are planted vegetables and some families buy consumer goods to buy at the market, and the beliefs that have been passed down from the ancestors will be the subject of ancestral spirits and respect the shaman who is the village shaman. Buddhist synagogue Lifestyle of migrant workers of Myanmar nationality after coming to live and work in Thailand, the economic characteristics are satisfied with the work done, but have to be patient in the work done because of the hard work. Working in Thailand is better than ever. Social character Have a break by living at the employer's home. Have contact with friends parents and relatives at home to the republic of the union of Myanmar income from work and remittances have been sent to parents, family or relatives. The culture of consumption, most of the food is to buy fresh food to cook each other to save money.


               2) Myanmar migrant workers have the knowledge, attitude, health practices found that migrant workers in Myanmar had knowledge, attitudes towards health behaviors when they were sick, health card use. There is treatment in public or private facilities and when pregnant, self care, pregnancy care during labor and after delivery. There is a strong interest in prenatal care for public health care providers, but there are barriers to communication and unequal treatment of health services for Thai people in general. Get information that reflects life. Health requirements 3) Model of the way of life Myanmar migrant workers in klongsamwa area of have found that this pattern can be developed in the process of developing migrant workers from Myanmar and other nationalities. In line with the principles of the management approach to support policy change in both the public and private sectors, the measures to control illegal migrant workers entering Thailand. The organization of registration of foreign workers. It will have to create a new stereotype. In a way that can accommodate changes in the economy, society and culture, changes in laws and regulations, to the development and solution of migrant workers in Myanmar and foreign workers in other nations.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ