ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์ การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ

Main Article Content

นงนุช วงศ์สว่าง
ดนุลดา จีนขาวขำ
ชลธิชา บุญศิริ
สุรินทร์ มีลาภล้น
จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์
เพ็ญจมาศ คำธนะ
ธานี กล่อมใจ

Abstract

                  การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้ม 2) อุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มและ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 113 คนที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2559 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Chi-square test) ผลการวิจัยพบว่า


               1)  ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านสูงสุดได้แก่ บริเวณบันไดมีผ้าหรือพรมเช็ดเท้า (ร้อยละ 49.6) รองลงมาคือบริเวณบันไดมีแสงสว่างไม่เพียงพอ (ร้อยละ 46.2) และไฟบริเวณบันไดมีสวิตช์เพียงตัวเดียว(ร้อยละ 41.6)


               2)  อุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มพบว่า ผู้สูงอายุเคยพลัดตกหกล้มในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 19.5  ผู้สูงอายุที่เคยพลัดตกหกล้มส่วนใหญ่พลัดตกหกล้มภายในตัวบ้าน (ร้อยละ 68.2)


               3)  ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านกับการพลัดตกหกล้มพบว่าบริเวณบันไดมีแสงสว่างไม่เพียงพอและบริเวณทางเดินมีสายไฟสายโทรศัพท์หรือสายพ่วงต่อพาดผ่านมีความสัมพันธ์กับการพลัดตกหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) 


               4)  การวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในตัวบ้านของผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอบริเวณบันไดและจัดบริเวณทางเดินให้โล่งไม่มีสิ่งของกีดขวาง


 


This descriptive research aimed to study 1) home environmental risks for falls, 2) incidents of falls, and 3) the association between home environmental risks for falls and incidents of falls in older adults. The sample was 113 older adults who were living in Dontako sub-district, Ratchaburi province. They were purposively sampling during October to November 2016. The data were collected using questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics. The inferential statistics used were Chi-square test. The results were found that


               1)  The home environmental risks composed of having fabric or wicker at the ladder area (49.6%), followed by inadequate light at the ladder area (46.2%) and having one-way switch at the ladder area (41.6 %).


               2)  The incidents of falls were found that 19.5 % of older adults experience falls during 6 months before the study. There were 68.2 % of older adults experienced fall in their home.


               3)  The association between home environmental risks for falls and incidents of falls in older adults was found that the insufficient light at the ladder area and having wire, telephone line or extension cord on the walk way was significantly associated with fall in older adults (p-value <0.05).


               The results of this study suggest an improvement in the elderly's home environment, especially increasing proper lighting at the ladder area and keeping walkways clear of obstructions.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ