ผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคละครเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม ความปลอดภัยของด็กอายุ 4 ปี

Main Article Content

พัชรา พานทองรักษ์
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคละครที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กอายุ 4 ปีก่อนและหลังการทดลอง 2) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กอายุ 4 ปีระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้เทคนิคละครกับกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดกิจกรรมแบบปกติ และ 3) ศึกษาความคงทนของพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคละครกับเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านศรีบุญเรือง) ปีการศึกษา 2559 สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำปาง จำนวน 32 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 16 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสองกลุ่มวัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวมทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กอายุ 4 ปี แบบคู่ขนาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ


             ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยสูงกกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าความคงทนของพฤติกรรมความปลอดภัยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


               The purposes of this research were 1) to study the effects of organizing activities by using drama techniques on safety behaviors of four year old children before and after the experiment, 2) to study the effects of organizing activities on safety behaviors of four year old children after the experiment between experimental group and control group, and 3) to study retention of safety behaviors between experimental group and control group. The sample were 32 children studying in second level kindergarteners from Lampang Municipality School 5 under Lampang Department of Local Administration, samples were divided into two groups, 16 children for the experimental group and 16 children for the control group. Drama techniques were used to organize activities for the experimental group and conventional method was used to organize activities for the control group. The research duration was 10 weeks. This research was multiple group time series design. The research instruments were parallel assessment form of four year old children’s safety behaviors. The data was statistically analyzed by using means, standard deviation, t-test, and repeated ANOVA.


             The research result were as follows: 1) After the experiment, the experimental group had the safety behaviors mean scores higher than before the exponent at .05 significant level. 2) After the experiment the experimental group had the safety behaviors mean scores higher than that of control group at .05 significant level. 3) After the experiment, the experimental group had higher retention of safety behaviors than that of control group at .05 significant level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ