การส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

สมนึก ชูปานกลีบ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อการส่งเสริมปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา 2) เพื่อสร้างกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง             ซึ่งผู้วิจัยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนชั้นปีที่ 1 -4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 400 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนนักศึกษาปี 1-4 จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา พบว่า การได้รับกระตุ้นความสนใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีเจตคติต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการมีประสบการณ์เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ  68.80 (R2 = .688)

  2. กิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการเรียน การสอนด้วย การกระตุ้นความสนใจ การปลูกฝังเจตคติที่ดีและส่งเสริม การมีประสบการณ์  โดยให้นักศึกษาปฏิบัติใน 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน สังคม   อาทิ การทำบัญชีรับจ่าย ลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชนและ สังคมตามลำดับ

        The purposes of this research were to : 1) study the factors encouraging the students in practice on philosophy of sufficiency economy,and 2) create activities for encouraging students in practice on philosophy of sufficiency economy. The quantitative and qualitative approaches were employed in this study. The samples were 400 students of Phetchaburi Rajabhat University. The obtained data were analyzed by using multiple regression analysis. The qualitative data were collected from the key informants consisting of 16 representatives of the 1st-4th year students Stepwise Multiple Regression Analysis. and analyzed by using content analysis.


             The research results were as follows:


  1. The factors affecting thestudents’ practice on philosophy of sufficiency economy consisted of: 1) being stimulated on interest in philosophy of sufficiency economy,2)having good attitude towards the philosophy of sufficiency economy, and3)having the experience on philosophy of sufficiency economy. and cultural environment, 68.80 (R2 = .688)

  2. The activities for encouraging the students in practice on philosophy of sufficiency economy were as follows : insertion of philosophy in the curriculum and teaching, stimulation of interest, cultivation of positive attitude, and promotion of experiences byhaving the students practice the philosophy in three levels,namely the individual, family, and communityandsociety levels, on the activities of, for example, recording the details of expenditure and income, reducing expenditure in family, and create a better environment in the family, community, and society.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ