อัตลักษณ์แห่งภูกามยาว : รูปลักษณ์ ความเชื่อ และภูมิปัญญา

Main Article Content

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์แห่งภูกามยาว (จังหวัดพะเยา)และวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของอัตลักษณ์แห่งภูกามยาวจากความสัมพันธ์ระหว่างรูปลักษณ์ ความเชื่อ และภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์แห่งภูกามยาว  โดยอัตลักษณ์แห่งภูกามยาวดังกล่าวได้รับการคัดสรรจากการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ของผู้นำชุมชนและชาวบ้านทุกอำเภอของจังหวัดพะเยา จากนั้นได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์แห่งภูกามยาวด้วยวิธีการทางคติชนวิทยา แล้วนำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


               ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์แห่งภูกามยาวที่ได้รับการคัดสรรจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านแต่ละอำเภอของจังหวัดพะเยาแบ่งออกเป็น 6 ประเภทคือ ศาสนสถาน ทรัพยากรธรรมชาติ พระพุทธรูป ผลิตผลของกลุ่มชน โบราณสถาน และวีรบุรุษ  โดยรูปลักษณ์ ความเชื่อ และภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์แห่งภูกามยาวแต่ละสิ่งในทุกประเภทจะมีส่วนสัมพันธ์และเกื้อกูลกันตามบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ อันได้แก่ สร้างความรู้ความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนหรือชาติพันธุ์ เป็นภาพลักษณ์แห่งความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เป็นศูนย์รวมใจของคนในชุมชน เป็นที่พึ่งทางใจและเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมคนในชุมชน เป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตนและความเป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดธุรกิจท่องเที่ยว อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน


 


               The study aimed to investigate the identity of Phukhamyao (Phayao Province) and to analyze the meaning of roles and functions of those identities relating to three terms; Image, Belief and Wisdom. Data collection was done by focus group discussion of the community leaders and house villagers in Phayao. Folklore methodology was  implemented in analyzing the collected data.


               The results revealed that the identity of Phukhamyao could be classified into  6 elements. They are 1) religious places  2) natural resources  3) Buddha images  4) local products  5) historical sites and 6) heroes. Each element consisted of the three icons; image, belief and wisdom that supported the meanings of these six identities in creating dignity for their community, in indicating the cultural and art development, in functioning as the community center and spirit refuge for people as well as the ideal to take control the community, in presenting unique identity of the community and in enhancing local economic by tourism in the area.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ