ที่แห่งการเตือนสติ

Main Article Content

วรรณุฉัตร ลิขิตมานนท์

Abstract

               บทความนี้อธิบายที่มาของการใช้ผลงานศิลปะเพื่อเป็นสื่อกลางให้เกิดการตระหนักรู้คุณค่าของจิตใจ โดยประเด็นศึกษามีที่มาจากข้อสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มวัยรุ่นในสังคมไทยต่อสื่อโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องค่านิยมศัลยกรรมเปลี่ยนรูปลักษณ์ การให้คุณค่ารูปลักษณ์ร่างกายที่ สวย หล่อ มากจนเกินความพอดี ลดทอนความสำคัญเรื่องของคุณค่าภายในจิตใจอันดีงาม ซึ่งการคิดและกระทำดีนั้นเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เนื่องจากสร้างให้คนดูดีได้อย่างยั่งยืน  สังคมควรให้ความสำคัญและสมควรได้รับการเตือนสติในเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อผสมชุด “ที่แห่งการเตือนสติ” ในครั้งนี้


               การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลงานศิลปะเป็นสื่อกลางในการตั้งคําถาม เตือนสติ ให้เกิดการตระหนักถึงคุณค่าของจิตใจที่มีความสําคัญมากกว่ารูปลักษณ์ ตลอดจนนําข้อคิด ข้อเตือนสติมาปรับการสร้างใหม่ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งของการเผยแพร่  โดยผลงานสร้างสรรค์จะมีทั้งหมด 3 ชุด ใช้การนำเสนอด้วยเทคนิคสื่อผสมที่ประกอบไปด้วยศิลปะเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วมกับข้อความ และเผยแพร่ในรูปแบบนิทรรศการเดี่ยว ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


               ผลของการศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะที่เป็นสื่อกลางเตือนสติให้เกิดการตระหนักถึงการกระทำดีสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามหลักพุทธปรัชญาในเรื่องการเตือนสติให้รู้จักจริยธรรมความดีที่พึ่งปรารถนาในการดำเนินชีวิตนั้น  ได้ผลตอบรับเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วมการใช้เสียงในลักษณะอินเตอร์แอ็คทีฟ การใช้ข้อความและภาพถ่าย ได้ทำให้เกิดข้อคำถามจนนำไปสู่การทบทวนตนเอง ซึ่งท้ายที่สุดนอกจากผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้จะให้องค์ความรู้ใหม่แก่ผู้ศึกษาแล้วยังอาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจผลงานศิลปะในรูปแบบกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน


 


                This article explains the rationale for the use of art works as media for creating the awareness of the values of mind. This studied topic emerges from the observation on behaviours of teenagers in Thai society towards advertisements that implant the popularity of beauty plastic surgery to change appearances, and the ideas that focus too much on appearances and physiques that look good, which decreases the values of beautiful minds. To think and do good things must be promoted because such actions make people look good in the sustainable manner. Thus, the society should focus on these things and always be reminded of them. All the aforementioned rationales lead to this study to create mixed media art works in ‘A place to re-mind’ project.


               The objectives of this project are to create art works that question and remind audiences of the values of minds which are more important than external appearances; and to apply the mottos to the re-interpretation, which is a way to disseminate ideas. The created works are in 3 sets, all of which are mixed media interactive art works that incorporate messages and are exhibited in a single exhibition at the Art Gallery of Chiang Mai University.


               The findings from the study and the created art works that are media that remind audiences of good deeds that concur with the principles of Buddhist philosophies which remind people of desirable ethics in life point out that the response to the art works are in accordance with the objectives. The interactions that use sounds, messages and photographs lead to questions and eventually self-consideration. Ultimately, not only do the works in this project lead to attainment of new bodies of knowledge but they also inspire everyone interested in interactive art.   

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ