การออกแบบเครื่องหมายบนแผนที่เพื่อใช้กำกับความหมายบ่งชี้จุดท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

Abstract

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบเครื่องหมายบนแผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายที่สามารถสื่อความหมายจากความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะกับรหัสหน้าที่ของแผนที่และศึกษาความพึงพอใจการใช้งานแผนที่ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมคือ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 3 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ ศิลปินผู้เชี่ยวชาญประจำจังหวัด กลุ่มนักออกแบบกราฟิก โดยผลการวิจัยพบว่า แนวทางการออกแบบเครื่องหมายมีลักษณะการออกแบบที่ซึ่งสามารถแบ่งตามรหัสหน้าที่ของแผนที่ ได้คือ 1)รหัสเชิงภาพแทน สามารถใช้รูปสัญญะได้ทั้ง 3 แบบโดยเป็นไปตามแนวคิดของชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพิร์ส (Charles Sanders Peirce)ว่าด้วยเรื่อง ตรีลักษณะ (Trichotomy) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของการใช้แนวคิดสิ่งที่หมาย (Signified)2) รหัสตำแหน่ง ใช้รูปสัญญะแบบ Index และ 3) รหัสระยะทางใช้รูปสัญญะแบบ Symbolโดย สัมพันธ์กันกับ ตัวหมาย (Signifier) หมายถึง ต้องมีภาษากำกับสำหรับแนวงานการออกแบบใช้เทคนิคArt & Craft ผสมกับรูปแบบHand-Drawn ข้อสรุปจากการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเป็นการศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานแผนที่โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวเชียงราย 400 คน พบว่า รูปสัญญะแบบ Index ให้แรงจูงใจด้านการท่องเที่ยวดีที่สุดเพราะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้จินตนาการได้มากที่สุด และการสรุปจุดเด่นจากสถานที่ท่องเที่ยว เรียงจากความพึงพอใจสูงสุดได้คือ ไร่ชาฉุยฟง ภูชี้ฟ้าและดอยดินแดง ตามลำดับ 


 


               The objectives of this research are to study how to design the symbols on a tourist map which is able to convey the meaning from the relation between signs and the function code of the map, and to study the satisfaction on using map of the tourists in Chiang Rai Province by using integrating methods including the qualitative method, in-dept interview 3 groups of the specialists consisting of map specialists, artists in the province and graphic designers. The results of the research showed that how to design symbols can be classified based on the function code of the map which are; 1) the visual representative code which utilizes the 3 classes of signs according to Charles Sanders Peirce relating to Trichotomy 2) the positional codes using signs under the term ‘index’ and, 3) the distance codesusing signs under the term ‘symbol’ with the caption for good communication. The designs that conform with the sign was Art & Craft pictures combined with Hand-drawn.The conclusion of the quantitative research was to study the satisfaction of using map by using 400 tourists in Chiang Rai Province. It showed that Index sign was the best tourism motivation because it gave a chance for the tourists to imagine most. Lastly, based on the conclusion of the distinctive point of each tourist attraction, the most highly-ranked satisfaction to the lower one were Choui Fong Tea Farm, Phu Chee Fah and Doi Din Dang respectively.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ