กระบวนท่าและกลวิธีการใช้กระบี่ในการแสดงละครในเรื่อง อิเหนา

Main Article Content

กรกนก ทับจีน

Abstract

                    การศึกษากระบวนท่าและกลวิธีการใช้กระบี่ในการแสดงละครในเรื่อง อิเหนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบการแสดงการใช้กระบี่ในการแสดงละครเรื่องอิเหนา2.ศึกษากระบวนท่ารำและกลวิธีการใช้กระบี่ในการแสดงละครเรื่องอิเหนา โดยใช้วิธีการศึกษาจากการแสดงของกรมศิลปากร เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากวิดิทัศน์ และจากประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยในฐานะผู้แสดง ผลการวิจัยพบว่ากระบวนท่าที่ใช้กระบี่ในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา มีด้วยกัน 2 ตอน คือตอนปันหยีรบระตูบุศสิหนาและตอนศึกกระหมังกุหนิง แบ่งออกเป็นกระบวนท่ารำในการใช้กระบี่รำตีบท ด้วยกันทั้งหมด 7 ครั้ง กระบวนท่ารำในการถือกระบี่รบ แบ่งออกเป็นกระบวนท่ารำตีบทในการใช้กระบี่รบ 1 ครั้ง และกระบวนท่ารำในเพลง 2 ครั้ง จากกระบวน ท่ารำกระบี่ที่ใช้ในการแสดงละครสามารถวิเคราะห์กลวิธีการใช้กระบี่ได้ 4 ลักษณะ 1.วิธีการจับหรือการถือกระบี่ การควง การไหว้ การขี้ม้า และการชี้ ซึ่งเป็นกระบวนท่าตามหลักนาฏศิลป์ไทย 2.วิธีการใช้กระบี่ในการรบ ได้แก่ การแทง การฟัน การรับ การหลบ และการตีเลาะ  ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงมาจากศิลปะป้องกันตัวกระบี่กระบองและกีฬาฟันดาบสากลสมัครเล่น 3.การเคลื่อนที่ ปรากฏในลักษณะวงกลม และเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน 4.การใช้อารมณ์ ตามหลัก  นาฏยศาสตร์ ที่สื่ออารมณ์จากภายในสู่การแสดงออก ทางสีหน้า และแว่วตา ทั้งนี้กระบวนท่าและกลวิธีการใช้กระบี่ในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา มีกระบวนท่าการรบมาจากศิลปะป้องกันตัวกระบี่กระบองและกีฬาฟันดาบสากลสมัครเล่นผสมผสานกับหลักการแสดงนาฏศิลป์ไทยเกิดเป็นกระบวนท่าการใช้กระบี่ที่มีความสวยงาม เข้มแข็งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการแสดงละครรำและควรค่าแก่การอนุรักษ์


 


                    The studying Posture dance and strategy of sword using in the performance of I-NAO by using the methodology of studying through the shows of Fine Arts Department, related document, interviewing the qualified persons, observation both of participate in and non- participate in, videos and the reality experience of researcher in the role play of actress.  The result of study found that posture dance of using sword in the performance of I-NAO has 2 episodes are episode of PUNYI took the war with RATUBUSSINA and episode of KAMANGKUNING was that divided into the posture in using sword dance for on act-all 7 times posture dance of holding sword in was which divide into posture dance for an act of holding sword 1 time and posture dance in music 2 times. From above can analyses the strategy of sword using in 4 types 1. The way to hold sword, swinging, paying respect, horse riding and riding are the posture dances as in the Classical Dance. 2.The way to use sward in war such as stabbing, fighting, withstanding, avoiding and having a short cut fighting which haring the resemble format from martial art of swordplay and amateur international fence spot. 3. The movements appear in the circle form and move in the same direction. 4. Emotional inner acting as in Thai Dance Science which reflect the emotion from inner to face and eyes gesticulation. The summary found that posture dance and strategy of sword using in the performance of I-NAO gets the posture dance of war from martial art of swordplay and amateur international fence sport integrated with the Thai Classical Dancing Art until become to be the beautiful posture of sword dance, so strong and be the self-identity in Thai dance drama.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ