เทคนิคประดับกระจกบนรูปทรงที่แปรเปลี่ยน

Main Article Content

นำชัย เฟื่องอาวรณ์
ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ
ปัญญา วิจินธนสาร

Abstract

                       วิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้อ “เทคนิคประดับกระจกบนรูปทรงที่แปรเปลี่ยน” มีจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์เพื่อแสดงออกถึงทัศนคติที่ดีงามจากความแปรเปลี่ยนที่อัปลักษณ์ทั้งทางรูปลักษณ์และความรู้สึก ซึ่งมีเหตุผลสืบเนื่องมาจากความแปรเปลี่ยนในรูปลักษณ์ของสรรพสิ่ง อันมาจากความไม่เที่ยงแท้  โดยอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ  อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่เที่ยงแท้นี้ก่อให้เกิดทุกขเวทนาความสลดสังเวช ความน่าสะพรึงกลัว สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจทางความรู้สึกที่ผู้คนไม่อยากจะสัมผัส ข้าพเจ้าจึงได้นำรูปทรงที่แปรเปลี่ยนของซากสังขารจากวัตถุทางสังคมอันเกิดจากโศกนาฏกรรมของมนุษย์ที่มีลักษณะแสดงถึงความอัปลักษณ์ทั้งทางรูปลักษณ์และความรู้สึก มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะรูปแบบประติมากรรมสื่อผสม ด้วยเทคนิคประดับกระจกแบบประเพณีไทย เพื่อแสดงความงามที่มาจากสิ่งแสดงความไม่เที่ยงแท้ และการปรุงแต่งบนรูปทรงที่อัปลักษณ์ ผสมผสานเชื่อมโยงไปสู่คติธรรมทางพระพุทธศาสนา         


 


                    The dissertation aims to provide creativity in art of expressing a good buddhistic attitude called ‘change’, In the dissertation ‘change’ is both emotional and bodily deterioration that caused by a truth called “impermanency of things”. This is in accordance with buddhistic philosophy called ‘Three common characteristics” (anicca dukkha and anatta). In this dissertation, the concept of deterioration, which is a kind of impermanency and could cause pitifulness and fear, is deployed to create mirror-decorated mixed media sculpture in ‘scrap material’ theme . This kind of art theme could cause sharply  tragic emotion that further enlighten people to higher buddhistic philosophy of things’ impermanency.


  


 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ