สังเวชวิจักษ์: ทางสู่ปัญญาผ่านความเสื่อมสลาย

Main Article Content

ศิระ สุวรรณศร
กฤษณา หงษ์อุเทน
วิชัย สิทธิรัตน์

Abstract

               การดำรงอยู่ของสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความทุกข์และความเสื่อมโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทุกสรรพสิ่งต้องเผชิญกับสภาพการเกิดและการดับสูญอย่างไม่มีวันจบสิ้นโดยทั่วถึงและไม่มีข้อยกเว้น อาจกล่าวได้ว่า ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงเป็นสภาวะที่ฝังอยู่ในทุกๆ ความเป็นไป ของสรรพสิ่ง สภาวะการพังทลายของความหวังนำมาซึ่งความเศร้าโศก ความหม่นหมอง และความหดหู่ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่และการหยัดยืนเพื่อนำพาชีวิตไปสู่ความสุขสงบที่แท้จริง ความรู้สึกบีบคั้นกดดันจากปัญหาครอบครัวที่สะสมพอกพูน นำมาซึ่งชีวิตที่ปราศจากแสงสว่างแห่งความสุข ต้องตกอยู่ภายใต้ร่มเงาที่มีแต่ความทุกข์และความเสื่อมเกาะกุมบดบังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ไร้หนทางแก้ไข และเป็นความจริงที่ต้องเผชิญอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้


               ประสบการณ์จากความทุกข์ในชีวิตนำไปสู่หนทางการเข้าถึงกฎแห่งไตรลักษณ์ของพระพุทธองค์โดยผ่านการศึกษาจากตำราและแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงการศึกษารูปแบบทางศิลปะที่แสดงออกเกี่ยวกับความงามของความไม่สมบูรณ์ ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลทางปัญญาสำหรับการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผ่านกระบวนการแสวงหารูปทรงทางประติมากรรมที่สามารถสื่อสะท้อนการเสื่อมสลายและกระตุ้นความรู้สึกสลดสังเวชไปพร้อมๆ กัน การค้นหาเทคนิคและวัสดุในการสร้างงานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตัวและวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเร้าความรู้สึกสลดสังเวชของผู้ชมโดยผ่านการพิจารณาผลงานศิลปะด้วยปัญญา อันเป็นการเปิดมรรคาการเข้าถึงธรรมะแก่ผู้ชมอย่างแยบยล


 


               Within the existence of everything, it is true that its has been appearing under the influences of suffer and decline without an absent to be avoid. Everything confront the birth and death as an eternal life cycle. This is the fact that adapted every states of beings; the state nor condition that hope has been collapsed. With an absent of wisdom to gain happiness and peaceful life, it bear to be sorrow. The fragile of family issues have overshadowed the light of happiness; under the shadow of sorrow and decline without a solution. This is the unavoidable reality to be confront. 


               Within the intellectual experience from “The Three Common Characteristics (The Nature Regulation)" of Buddha studies, “The Pali Canon” combines with the knowledge from the art of unwealthy aesthetic. This is the archive of wisdom for art: creative and perhaps the analysis, the synthesize to proceed the sculpture form in able to communicate and reflect the processes of decline to stimulate the feeling of sorrowful, to gain the procedure of sculpture technique and medium for originated art work. This is the factor to communicate the feeling of sorrow combine with the intellect of Dharma intriguing to the viewers.


 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ