การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(The Development Of Instrucitonal Activities Model By Problem Besed Learnin- The Development Of Instrucitonal Activities Model By Problem Besed Learning To Enhance Problem Solving Abilities On Digital Photography Course For Undergraduate Students Faculty Of Education, Silpakorn University

Main Article Content

เอกนฤน บางท่าไม้ (Eknarin Bangthamai)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  ที่ลงทะเบียนในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสอบถามสำหรับผู้เรียน 3) แบบประเมินรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน 4) แบบประเมินแผนกำกับกิจกรรมการเรียนการสอน 5) แบบประเมินความสามารถในการแก้ไขปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพ 6) แบบประเมินความคิดเห็น 7) แบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้การเก็บรวบรวมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทดสอบที


               ผลการศึกษาพบว่า


               1) รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนสำคัญ 9 ขั้นประกอบด้วย 1) ปฐมนิเทศการเรียนและวางแผนการเรียนรู้ 2) ทบทวนความรู้เดิม 3) เสริมองค์ความรู้ใหม่ 4) นำเสนอปัญหา 5) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 6) กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา 7) ขั้นการแก้ไขปัญหา 8) สรุปผลการแก้ไขปัญหา 9) ประเมินผลการแก้ไขปัญหา โดยแต่ละขั้นตอนมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินคุณภาพแผนกำกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นจากรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D. = 0.45)


               2)  ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 2.1) ผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.04, S.D. = 0.49) 2.2) ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาการถ่ายภาพก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน t-test dependent แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2.3) ความคิดเห็นของผู้เรียนจากการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.52) 2.4) ผลการรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีระดับเหมาะสม


 


              The objectives of this research were: 1) to development of instructional activities model by problem based learning enhance problem solving abilities on digital photography course 2) to study the effect of instructional activities model by problem based learning enhance problem solving abilities on digital photography course. The sample, selected by a cluster sampling technique, is comprised of 30 undergraduate students in the Faculty of education, Silpakorn University, who enrolled in creative photography course. The research instruments were 1) an interview of professionals; 2) a survey for the undergraduate students; 3) an instructional activities model evaluation form; 4) an evaluation form for learning activities lessons; 5) an evaluation form for problem solving abilities on digital photography course 6) questionnaire Satisfaction and 7) an evaluation form for certifying the model. The research data was gathered by quantitative and qualitative. The research design was Pretest-Posttest Design, Frequency, Percentage, Average, Standard Deviation and T-Test that were used to analyze data.


             The results of the study were as the follows:


  1. The developed model consisted of nine important components: 1) planning and orientating learning activities; 2) list what is known; 3) integrate new knowledge; 4) problem identification; 5) classify the problem; 6) generate possible solutions; 7) action solutions; 8) synthesis result solutions and 9) assessment and reflection of learning. The average score of evaluating learning and teaching activities was 4.80 and the standard deviation score was 0.45 the interpretation is in highest level.

  1. The results of using instructional activities model revealed that 2.1) problem solving abilities on digital photography course average score was 3.04 and the standard deviation score was 0.49 the interpretation is in high level; 2.2) problem solving abilities on digital photography course after learning through learning and teaching activities were significantly higher at the 0.01 level; 2.3) the average score of learners’ opinions toward learning and teaching activities through was 4.43 and the standard deviation score was 0.52 the interpretation is in high level; and 2.4) the guarantee results of learning and teaching activities from the experts were at appropriate level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ