การพัฒนาทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิด จิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6(The Development of Social and Cross Cultural Skills and - The Development of Social and Cross Cultural Skills and Finding Main Idea Competences in English through Group Process to Integrated Contemplative Education for Matthayom 6 Students

Main Article Content

กฤติน เก้าเอี้ยน (Krittin Kaoian)
สรัญญา จันทร์ชูสกุล (Saranya Chanchusakun)
อุบลวรรณ ส่งเสริม (Ubonwan Songserm)
มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ (Manita Leethochawalit Atthanuphan)

Abstract

              การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และ ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 9 จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยสอนสัปดาห์ละ 2 คาบ คาบเรียนละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1.แผนการสอน 2.แบบทดสอบวัดทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 3.แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ 4.แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (M)                           ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมหลังจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ หลังจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (M) อยู่ที่ระดับ 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) อยู่ที่ระดับ 0.43

          The purposes of the research were to 1) compare student’s social and cross cultural skills before and after learning through Group Process to Integrated Contemplative Education 2) compare student’s finding main idea competences in English before and after learning through Group Process to Integrated Contemplative Education 3) study student’s opinions toward learning through Group Process to Integrated Contemplative Education. The sample group in this research comprises 24 Mattayom 6 students of Rajinibon School, Bangkok, who were studying in the first semester of 2017. The simple random sampling technique was employed for selecting, the sample group and classroom was a random unit. The researcher spent eight weeks for teaching, two periods per a week, 50 minutes each, totaling 16 periods. In addition, the research tools were; four lesson plans through Group Process to Integrated Contemplative Education, a pre and post-test of social and cross cultural skills, a pre and post-test of finding main idea competences and a questionnaire survey of student’s opinions toward learning through Group Process to Integrated Contemplative Education. The mean (M), standard deviation (SD) and dependent t-test were applied for data analysis.


 


The findings were as follows:


  1. The student’s social and cross-cultural skills after learning through Group Process Integrated Contemplative Education were significantly higher than those before studying at the .05 level.

  2. The student’s finding main idea competences in English after learning through Group Process Integrated Contemplative Education were significantly higher than those before studying at the .05 level.

  3. The student’s opinions toward the learning through Group Process Integrated Contemplative Education were positive at a good level (M=4.19 and SD=0.43).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ