มุมมองทางภูมิศาสตร์ ผ่านคำขวัญประจำจังหวัด (Geographical Perspective through Provincial Slogans)

Main Article Content

จิตรภณ สุนทร (Jittrapon Soontorn)

Abstract

                 คำขวัญประ จำจังหวัด เป็นการนำเสนอข้อมูลของสิ่งที่เป็นจุดเด่นประจำจังหวัดต่าง ๆ เปรียบเสมือนการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่เพื่อให้คนภายในจังหวัดเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความโดดเด่นของท้องถิ่นของตน ข้อมูลที่มักถูกหยิบขึ้นมาสร้างเป็นคำขวัญประจำจังหวัดนั้นโดยทั่วไปจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ ลักษณะเด่นทางพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ทางธรรมชาติ ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ ข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ประจำจังหวัด ในขณะที่การศึกษาเชิงภูมิศาสตร์นั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งมีความคาบเกี่ยวกับศาสตร์อื่น ๆ หลากหลายแขนง ดังนั้นเมื่อนำคำขวัญประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัดมาทำการจำแนกข้อมูลอัตลักษณ์ทางพื้นที่ที่ได้นำเสนอ พบว่าคำขวัญประจำจังหวัดส่วนใหญ่ได้นำเสนอข้อมูลอัตลักษณ์ทางพื้นที่ ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันทั้งสิ้น 7 กลุ่มได้แก่  1) ทำเลที่ตั้งของจังหวัด 2) หน้าที่หรือความสำคัญของจังหวัด 3) ลักษณะภูมิลักษณ์ของจังหวัด 4) สิ่งปลูกสร้างหรือโบราณสถานของจังหวัด 5) วัฒนธรรมของจังหวัด 6) สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัด 7) ประวัติศาสตร์ของจังหวัด โดยเมื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลที่นำเสนอในคำขวัญประจำจังหวัดด้วยมุมมองทางภูมิศาสตร์ พบว่า สามารถจัดกลุ่มตามประเด็นหลักได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ทำเลที่ตั้ง (Location) 2) สถานที่ (Place) 3) ภูมิภาค (Region) และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และโลก (Human-Earth Relationships)


 


                  Provincial slogans are the tools to present the iconic or the identities of each province which made the uniqueness and locals proud in their province. The information that usually promoted in Provincial Slogans are dominant spatial information such as Natural Environments, Natural Resources, Buildings, Cultures and Histories of province. In Geography, the way to studies is to investigates the relationship between the phenomena or activities and spatial that may overlap to the others sciences. After considered in each provincial slogan, most of all provinces had presented the spatial identities similarities to 7 groups which are 1) Locations 2) Functions 3) Topologies 4) Buildings 5) Cultures 6) Product and 7) Histories. If we analyzed the identities of provincial slogans by using geography methods, we can divide into 4 dimensions which are 1) Locational Dimension 2) Place Dimension 3) Regional Dimension and 4) Human-Earth Relationships Dimension

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ