กระบวนทัศน์กระแสทางเลือก : ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในสังคมไทย (Paradigm of Alternative Flow : Strategies to Drive Creative Economy in Thai Society)

Main Article Content

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา (Tippawan Sukjairungwattana)

Abstract

             บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทบทวนข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎีแนวคิดและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์กระแสทางเลือก การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย 2) ศึกษาบทบาทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศ  และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศไทย  เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การศึกษาเพื่อสร้างกระบวนทัศน์กระแสทางเลือกในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน


             กระบวนทัศน์กระแสทางเลือกใหม่ของการพัฒนาได้มุ่งเน้นการพัฒนาที่คุณค่าของความเป็นมนุษย์มากกว่าการวัดความเจริญจากวัตถุ สิ่งของ หรือตัวเงินเพียงอย่างเดียว โดยเน้นคุณค่าภายในมากขึ้น ซึ่งเป็นคุณค่าที่แท้จริง มีความคงทน ถาวรและยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะนำ กระบวนทัศน์ของ “ทฤษฎีการพัฒนาทางเลือก” เข้ามาใช้ในการพัฒนาชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น มีการกำหนดทิศทางการพัฒนา และกำหนดภาพความสำเร็จของการพัฒนาซึ่งทำให้ชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้รับผลของการพัฒนาโดยตรง  กระบวนทัศน์ทางเลือกหนึ่งเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจที่มีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นคือ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย จากการศึกษาพบว่า กระบวนทัศน์กระแสทางเลือกหนึ่งของการพัฒนา คือการปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุลและยั่งยืน จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาคนและสังคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ควรพิจารณาถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาตามกระบวนทัศน์กระแสทางเลือก ดังนี้  1) ควรมีการจัดการองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างความพร้อมให้กับคนเป็นสำคัญ 2) การเสริมสร้างความเข้มแข็งและแนวทางผลักดันสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน จัดระบบความพร้อมด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม 3) สร้างเศรษฐกิจสังคมสีเขียวตามแนวกระบวนทัศน์กระแสทางเลือกที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


 


              This article aims to 1) study and review basic information regarding theory, concept and research related to alternative flow paradigms of creative economy development in Thailand 2) to present the role of creative economy in developing countries and 3) to analyze strategies and policies recommended for creative economy in Thailand in order to create alternative paradigms for sustainable social development in the future.  


             The new alternative paradigm of development emphasizes on the development of humanity value, rather than the measurement of progression from material or money, by highlighting the intrinsic value which is genuine, durable and long lasting. In the present world, there is a tendency that various countries worldwide implement "Alternative Development Theory" in their urban development. They also have their development direction and illustrate the success of the development which gives the community a sense of ownership or a sense of direct recipient of the improvement. One alternative paradigm for an economy with a higher level of development is "Creative Economy", an important strategy to drive Thailand's economy. The study indicates that an alternative paradigm of development is to balance and sustain production structure which can occur when people and society are developed to associate with economic development, natural resources and environment. Furthermore, there are policy recommendations to stimulate the creative economy as follows 1) knowledge management for the development of a creative economy should significantly be provided to prompt community members 2) strengthening and practical implementation with knowledge, technology, society and culture should be supported  3) a green economy based on a sustainable alternative paradigm should be created.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ