การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางเกษตรและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษา กิจกรรมภูมิทัศน์กินได้ โรงเรียนวัดสาลี จ.สุพรรณบุรี (The development of Agricultural and Environmental Learning Activity through the Participation of The development of Agricultural and Environmental Learning Activity through the Participation of Network and Partnership: A Case Study Edible Garden in Wat Sali School, Suphanburi Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางเกษตรและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กระบวนการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมความพร้อม 2) ระยะออกแบบและดำเนินการจัดกิจกรรม 3) ระยะสรุปและสะท้อนผล ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัย มีบทบาทในฐานะนักวิจัยขับเคลื่อนการพัฒนา และนิสิตสาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 85 คน มีบทบาทเป็นกลุ่มปฏิบัติการ 2) โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนวัดสาลี จำนวน 3 คน มีบทบาทเป็นผู้ร่วมปฏิบัติการ นักเรียนชั้น ป. 4-6 จำนวน 65 คน มีบทบาทเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม และ 3) ชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 8 คน มีบทบาทเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม แบบวัดความพึงพอใจ และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมดำเนินการสรุปและสะท้อนผลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางเกษตรและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีการออกแบบกิจกรรมชื่อ “ภูมิทัศน์กินได้” แบ่งเป็นกิจกรรมระยะที่ 1 การจัดสวนเกษตรในโรงเรียน ประกอบด้วย 1) สวนสมุนไพรและผักสวนครัว 2) ทำแปลงเกษตรและการจัดภูมิทัศน์ริมคลองสาลี 3) การปลูกผักในภาชนะและการจัดภูมิทัศน์บริเวณสนาม 4) การจัดสวนเลียนแบบธรรมชาติ และกิจกรรมระยะที่ 2 การจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 5 ฐาน ประกอบด้วย 1) การออกแบบภาชนะปลูกผัก 2) การเตรียมวัสดุปลูก 3) การเพาะเมล็ดผัก 4) การปลูกผักลงกระถาง 5) การปลูกผักกลับหัวและการจัดสวน จากการปฏิบัติงานและผลการสะท้อนคิดพบว่า นิสิตมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานในระดับดีมาก มีการเตรียมความพร้อมและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายของมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน หลังจากการดำเนินการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความรู้หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนให้ความร่วมมือและมีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะควรนำไปขยายผลกับโรงเรียนและชุมชนภายในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยต่อไป
This action research aimed to develop the agricultural and environmental learning activities through the participation of network and partnership. The research processes were 3 phases; 1) preparation phase 2) activity design and implementation 3) conclusion and reflection phase. The participants were from 3 sectors; 1) Kasetsart University where consisted of 3 researchers and 85 undergrad students of agricultural education program 2) Wat Sali School where consisted of 3 administrative staff and teachers and 65 pupils of grade 4 to 6, 3) Community where consisted of 8 community leaders and pupils’ parent. Data collection was conducted by pre-test and post-test method using satisfaction questionnaire and after actions, conclusion and reflection had done via focus group discussion and interview. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The result revealed that the development of agricultural and environmental learning activity was designed to an activity called “Edible Garden” which composed of 2 stages. The first stage was school gardening that composed of; 1) gardening of herbal and homegrown vegetable, 2) providing agricultural plots and landscape along Sali canal, 3) growing vegetable in container and scenery decoration, and 4) gardening the imitation of nature. The second stage was to provide 5 learning bases of knowledge building activities such as, 1) container design for growing vegetables, 2) material and equipment preparing, 3) vegetable nursery seeding, 4) growing vegetables in containers, and 5) gardening and growing vegetables upside down.
The reflection after activities showed that the undergrad students had intention to join activities in a high level. They also had a well preparing and planning to work systematically, moreover, they got fully support from university network, school, as well as community. On the other hand, the pupils improved more knowledge after finished all activities from knowledge building bases. The activity observation revealed that pupils were willingly engaged to the activities, they were asking with smiling face during activity in any learning base. There were good cooperation between three sectors; university network, school and community. The finding is recommended to apply further in a school and community where affiliation with university.