ปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ในสำนักงานสีเขียว (Antecedents and Effects concerning Employee Green Behavior in Green Office)

Main Article Content

ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (Pinkanok Wongpinpech)

Abstract

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การที่ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียว และเพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุและผลของพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การที่ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียว (Green office) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2559 จำนวน 428 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การที่ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุและผลของพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การที่ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่าเจตคติต่อพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ภาวะผู้นำสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงาน และพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลลัพธ์ของพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงาน


 


                   The purposes of this study  were 1) to study  the level of employee green behavior in Green Office, 2) to examine a causal and effect relation model of employee green behavior in Green Office. The sample consisted of 428 employees working in the organizations that won Green Office Reward in 2016. The data were collected using questionnaires. Data were analyzed by utilizing descriptive statistics and structural equation Models. The results were revealed as followed; The total of employee green behavior was at a high level. The proposed model was modified to fit the empirical data. There was the direct effect of attitude toward employee green behavior on employee green behavior. There was the direct effect of environmental leadership on employee green behavior. Finally, There was the direct effect of employee green behavior on outcomes of employee green behavior

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ