ปัจจัยเงื่อนไขการจัดการเรียนรู้ของครู: มุมมองของครูผู้นำและผู้บริหารโรงเรียน (Instructional Factors of Teachers: Instructional Leaders and Principals’ Perspective)

Main Article Content

พิทักษ์ โสตถยาคม (Pitak Sotthayakom)
ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yoelao)
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา (Siripaarn Suwanmonkha)

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขของการจัดการเรียนรู้ของครู ตามมุมมองของครูผู้นำและผู้บริหารโรงเรียน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ประกอบด้วย ครูผู้นำการเรียนการสอน จำนวน 14 คน และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 12 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ปัจจัยเงื่อนไขของการจัดการเรียนรู้ของครู มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่ จิตวิญญาณความเป็นครู ทักษะการจัดการเรียนรู้ และความรู้ความเข้าใจในสาระหรืองานที่รับผิดชอบ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การบริหารจัดการ (การจัดปัจจัยเกื้อหนุน การลดอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามของผู้บริหาร) การพัฒนาวิชาชีพครู แรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน สารสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์สำหรับครูผู้นำและผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน


 


                  The purposes of this study were to analyze instructional factors of teachers according to the perspectives of the instructional leaders and the principals. This was a qualitative research. The data were collected by focus group interview. Key participants consisted of 14 instructional leaders and 12 principals in schools under Pra Nakhon Si Ayutthaya Educational Service Area, Office One, selected by purposive sampling.  The findings of content analysis showed that both internal and external factors had influence on the teachers’ instruction. The internal factors consisted of teachers’ spirituality, instructional skills, and knowledge of the content. The external factors consisted of instructional management skills (providing appropriate support when necessary, reducing barriers of teaching and learning, and taking action of internal supervision) professional development, students’ motivation and participation of parents and communities. The result of this study could be useful for the instructional leaders and the principals in supporting school teachers to develop their instructional competencies.  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ