การทำความเข้าใจองค์การมหาชนในประเทศไทย : ค้นหาผลการดำเนินงาน (Understanding Public Organizations in Thailand: An Exploratory Study )

Main Article Content

วาสนา พงศาปาน (Wassana Pongsapan)
จุรี วิจิตรวาทการ (Juree VichitVadakan)

Abstract

              การเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศไทยในปี พ.ศ.2540 นำมาสู่การกำหนดนโยบายการปฏิรูประบบราชการของประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ “องค์การมหาชน” (Public Organization) จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะที่มีลักษณะเฉพาะ คล่องตัวในการบริหารจัดการ เน้นประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ตอบสนองความต้องการของผู้มารับบริการได้อย่างรวดเร็ว แต่จากการดำเนินงานขององค์การมหาชนมามากกว่า 15 ปี ได้เกิดประเด็นสาธารณะมากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายทรัพยากร งานวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและนำเสนอผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนในประเทศไทย 2) เพื่อค้นหาปัจจัยหลักที่มีผลต่อผลการดำเนินงานขององค์การมหาชน และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับองค์การมหาชน กรอบทฤษฎีหลักในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ การจัดการที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และทฤษฏีเกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาจาก 3 องค์การมหาชน ที่มีผลการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มที่ดีมาก (Best Practice) ใช้วิธีการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทุติยภูมิขององค์การมหาชน การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์การมหาชน รวมทั้งเครือข่ายผู้รับบริการ รวมทั้งสิ้น 19 คน พร้อมทั้งใช้การสังเกตประกอบด้วย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการจัดทำรหัส จัดหมวดหมู่ของข้อมูลเป็นกลุ่มและประเด็นต่างๆ ที่ทำการวิจัย พร้อมใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย


              ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการดำเนินงานโดยรวมขององค์การมหาชนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ซึ่งสอดคล้องตามเจตนารมณ์และความจำเป็นในการจัดตั้งองค์การมหาชน ความโดดเด่นของผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากองค์การมหาชนมีลักษณะภารกิจเฉพาะ มีรูปแบบบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว ผู้ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรัฐบาลมีการใช้ประโยชน์จากองค์การมหาชน 2) ปัจจัยหลักที่มีผลต่อผลของการดำเนินงานขององค์การมหาชนมี 7 ประการหลัก ได้แก่ (1) ผู้อำนวยการองค์การมหาชน (2) เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน (3) คณะกรรมการองค์การมหาชน (4) งบประมาณและวิธีการงบประมาณ (5) การมอบหมายนโยบายและความต่อเนื่องของนโยบาย (6) ด้านลักษณะทั่วไปขององค์การ (7) เครือข่ายและการรับรู้ของประชาชน 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับองค์การมหาชน ควรให้ความสำคัญกับเหตุผลและความจำเป็นตามแนวคิดในการจัดตั้งองค์การมหาชน มุ่งเน้นกระบวนการสรรหาและการก้าวสู่ตำแหน่งของผู้อำนวยการองค์การมหาชน เน้นกระบวนการสรรหาและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การมหาชน และควรทบทวนและพัฒนาแนวทางในการกำกับดูแลองค์การมหาชน รวมทั้งบทบาทของหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องกับองค์การมหาชน


 


               Facing with difficulties and hardships to recover from the economic crisis in 1999, Thailand Government needed to reform its public sector through the use of good governance principles as well as New Public Management (NPM). Therefore, Thai government initiated reform policies in many areas of the public sector such as rightsizing, restructuring, downsizing, decentralizing as well as opening high-performance organizations. An important alternative for rightsizing is the creation of ‘Public Organization’ (PO). This research paper projects the concept of Public Organization performance under the Public Organization Act 1999 as the results of the public sector reform. The objectives of the study were 1) To investigate the performance of public organizations in Thailand 2) To explore the key factors affecting the performance of public organizations and 3) To provide recommendations, in terms of policy alternatives, for public organizations. The conceptual theories in analysis the performance of Public Organization were New Public Management, Results-Based Management and Policy Implementation. The qualitative approach is employed in this study by using technique of case studies selected from 3 public organizations, which are represented the best practice in performance agreement assessment. Data is collected from secondary documentaries, while in-depth interview technique are conducted with the director, board of director, senior executive and partnerships or stakeholders of Public Organization totally 19 keys informants as well as  using participatory observation. For data analysis, it has then been analyzed through coding, summarizing and managing information into categories in clusters and themes from the key questions through the verification of data by using data triangulation.


               The findings have been shown that 1) the performance of Public Organizations in overall have achieved according to the target and supported the success and necessity of having Public Organizations to provide some specific public services. The outstanding performance is due to the specific mission, flexible management pattern, efficiency of the officers and take advantage of the government. 2) There are 5 key success factors affecting the performance; (1) director of public organization (2) officials of public organization (3) board of directors of public organization (4) budget (5)  policy assignment and continuity of policy (6) characteristic of Public Organization (7)network and people acknowledge 3)the recommendations in term of policy for public organizations are precedence to rationale of public organization, attention to director selection process and leadership succession plan, attention to board of director’s selection process and duty performance, development regulation and steering guideline for public organization and develop role of the central agency related to public organization.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ