การใช้หนังสือหายากของผู้ใช้บริการหอสมุดแห่งชาติในประเทศไทย (The Usage of Rare Books in Thai National Libraries)

Main Article Content

สุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน (Sukonthip Juntalun)
วรรษพร อารยะพันธ์ (Watsaporn Arayaphan)

Abstract

              การศึกษาเรื่อง การใช้หนังสือหายากของผู้ใช้บริการหอสมุดแห่งชาติในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้และปัญหาในการใช้หนังสือหายากของผู้ใช้บริการหอสมุดแห่งชาติในประเทศไทย โดยการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการจัดการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติในประเทศไทย  ผู้ศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติในประเทศไทย 13 แห่ง จำนวน 305 คน โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 291 ชุด คิดเป็นร้อยละ 95.41 


               ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.70) และเพศชาย (ร้อยละ 43.30) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี (ร้อยละ 28.90) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 59.80) และมีอาชีพนักเรียน นักศึกษา (ร้อยละ 36.80)


               2) ด้านวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อประกอบการเรียนและการศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 59.80) โดยมี การเข้าใช้หนังสือหายาก 1-3 ครั้งต่อปี (ร้อยละ 50.90) และหนังสือหายากที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย (ร้อยละ 97.30) ด้านเนื้อหาของหนังสือหายากพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้หนังสือหายากที่มีเนื้อหา  ด้านประวัติศาสตร์มากที่สุด (x̅=4.52) โดยประเภทหนังสือหายากที่มีการใช้ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ หนังสือที่มีการพิมพ์จำนวนจำกัด (x̅=3.53) และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการใช้หนังสือหายากรูปแบบที่เป็นต้นฉบับตัวเล่มจริง (x̅=4.03) ด้านวิธีการเข้าถึงหนังสือหายากพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการเข้าถึงจากการสอบถามบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่มากที่สุด (x̅=4.00) และเครื่องมือช่วยค้นหาหนังสือหายากที่ใช้มากที่สุดคือ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) (x̅=3.53) โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้เขตข้อมูลในการสืบค้นหนังสือ  หายากจากชื่อเรื่อง (x̅=4.23) คำสำคัญ (x̅=3.60) และชื่อผู้แต่ง (x̅=3.59) ด้านประเภทบริการของหนังสือหายากพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามใช้บริการยืมหนังสือหายากเพื่อการอ่าน ศึกษา ค้นคว้ามากที่สุด (x̅=3.85) รองลงมา คือ บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสือหายาก (x̅=3.74) และบริการขอทำสำเนาหนังสือหายาก (x̅=3.36) ตามลำดับ


            3) ปัญหาจากการใช้หนังสือหายากของผู้ใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติพบว่า ภาพรวมมีระดับของค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅=3.53) โดยปัญหาด้านการเข้าถึงและสืบค้นหนังสือหายากมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̅=3.88) รองลงมาคือ ปัญหาด้านบริการและเผยแพร่หนังสือหายาก (x̅=3.55) และปัญหาด้านการจัดระบบ และจัดเก็บหนังสือหายาก (x̅=3.16) ตามลำดับ


 


              A study on the use of rare books by users within the Thai National Libraries. The purpose was to study the use and problems in the use of rare books by users of the National Library in Thailand. This study is part of a thesis on Rare Books Management in Thai National Libraries. The researcher used survey research methodology by using the questionnaire as a study tool to collect data. The questionnaire was distributed to the sample group, which are the users of rare books over 13 locations of the Thai National Library, from a total amount of 305 questionnaires, 291 questionnaires were returned, accounting for 95.41%.   


               The study indicated that 1) The respondents were female (56.70%), and male (43.30%). Most of them are aged between 20-30 years old (28.90%), graduated from undergraduate level (59.80%), and students (36.8%).


               2) The purpose of the use is mostly for education (59.80%). They access rare books 1-3 times a year (50.90%), and rare books mostly used are in Thai language (97.30%).  Regarding the content of the rare book, the answerer on the questionnaire was that the rare book that has historical content was mostly sought (x̅=4.52). The most common type of rare books used with highest average was limited edition printed books (x̅=3.53), and most respondents use the rare book in the original format, the actual volume (x̅=4.03). On the method of access to the rare books, it was found that the respondents were mostly accessing the book by asking from the librarians or staff (x̅=4.00), and helping tools to find the rare books that were mostly used are information resource database (Online Public Access Catalog-OPAC) (x̅=3.53), most respondents used the search engine to search for rare book titles (x̅=4.23), keywords (x̅=3.60), and author names (x̅=3.59). In the service category it was found that the respondents use the borrowing service mostly for reading, study and research (x̅=3.85). Secondly, answering questions about services and researching about rare books (x̅=3.74), and services for making copies of rare books (x̅=3.74), respectively.


               3) Problems with the use of rare books of users in the Thai National Libraries found that the overall picture has an average level, at a high level (x̅=3.53), with regard to the problem of access to and research on rare books was the highest (x̅=3.88). Secondly, there were issues of service and publishing of rare books (x̅=3.55), and difficulties in organizing and storing of rare books (x̅= 3.16), respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ