ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักทางวัฒนธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน(Factors Affecting to the Cultural Awareness of Undergraduate students, Kasetsart University Kamphaeng Sean Campus)

Main Article Content

อุรุพร ศิริวิชยาภรณ์ (Uruporn Sirivichayaporn)
สันติ ศรีสวนแตง (Sunti Srisuantang)
ประสงค์ ตันพิชัย (Prasong Tanpichai)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความตระหนักทางวัฒนธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักทางวัฒนธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2558 จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของตัวแปรคณะและชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


               ผลการวิจัย พบว่า นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีความตระหนักทางวัฒนธรรมในระดับมาก มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักทางวัฒนธรรมของนิสิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ความใส่ใจและเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม พฤติกรรมทางวัฒนธรรม แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเคยชินต่อวัฒนธรรม และการรับรู้ข่าวสารทางวัฒนธรรม ตามลำดับ จากการนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสู่การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่ามีตัวแปรที่มีผลต่อความตระหนักทางวัฒนธรรม 3 ตัวแปร ได้แก่ ความใส่ใจและเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรม และความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ตามลำดับ


 


                This research aimed to 1) study the cultural awareness among undergraduate students at Kasetsart University, Kamphaeng Sean Campus. 2) study the factors affecting the cultural awareness among undergraduate students at Kasetsart University, Kamphaeng Sean Campus. A total of 385 undergraduate students registering in 2015 were selected as a sample of the study by using a stratified random sampling method (related to ratio of faculty and Year) and a simple random sampling method. Data were collected using questionnaires and analyzed with descriptive statistic, Pearson correlation and stepwise multiple regression.


               The results of this study revealed a high level of cultural awareness among undergraduate students. Meanwhile, the seven factors correlated with the cultural awareness of students at level of significance 0.05 were attention and valuableness of culture, cultural knowledge, cultural behavior, culture data sources, cultural experiences, cultural habits, and perceiving cultural information. The regression analysis, it was found that there were three variables affected which cultural awareness; attention and appreciate, cultural Expedia, and cultural knowledge.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ